กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12092
ชื่อเรื่อง: | ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารสูง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Legal problems on high-rise construction |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วิกรณ์ รักษ์ปวงชน สมพิศ อาญาเมือง, 2527- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี กฎหมายก่อสร้าง ตึกระฟ้า--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ การศึกษาอิสระ--กฎหมายธุรกิจ |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดและความเป็นมาของกฎหมายควบคุมอาคารสูง (2) ศึกษาหลักเกณฑ์ทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมอาคารสูงที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีพของบุคคลในระบบกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ (3) ศึกษาเปรียบเทียบการบังคับใช้กฎหมายควบคุมอาคารสูงในประเทศไทยและกฎหมายควบคุมอาคารสูงในต่างประเทศ (4) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาการบังคับใช้กฎหมายควบคุมอาคารสูงของประเทศไทยให้เหมาะสมต่อสภาพเศรษฐกิจสังคม และสภาพแวดล้อมโดยรวม การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิจัยเอกสารโดยศึกษาพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 กฎกระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) และกฎกระทรวงฉบับอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาคารสูง พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติผังเมืองรวม พ.ศ. 2518 และทำการศึกษาถึงระเบียบข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดทำประมวลข้อบังคับอาคารสูง ตลอดจนกฎหมายหรือมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวการก่อสร้างอาคารของต่างประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น ประเทศสาธาณรัฐฝรั่งเศส และศึกษาจากตำราทางวิชาการของไทยและต่างประเทศรวมไปถึงบทความ วารสาร เอกสาร จุลสาร ระเบียบข้อบังคับ งานวิจัย และวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการก่อสร้างอาคารสูง ผลการศึกษาพบว่า (1) มีการนำแนวคิดและทฤษฎีทางกฎหมายที่เกี่ยวกับกฎหมายควบคุมอาคารสูงนำมาใช้เพื่อควบคุมและกำหนดหลักเกณฑ์การสร้างอาคารสูง (2) กฎหมายของไทยมีขึ้นเพื่อคุ้มครองประโยชน์และความปลอดภัยของประชาชนโดยส่วนรวมเป็นสำคัญ โดยเน้นไปที่ความมั่นคงแข็งแรง ความปลอดภัย การป้องกันอัคคีภัย การสาธารณสุข การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของอาคารเป็นหลัก (3) มาตรการในการกำหนดโทษและการลงโทษเกี่ยวกับกรณีการก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือฝ่าฝืนทำผิดตามกฎหมายต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศสาธาณรัฐฝรั่งเศสมีความรุนแรงและเข้มงวดกว่ากฎหมายของไทย (4) การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 โดยเพิ่มหลักเกณฑ์หรือข้อกำหนดเกี่ยวกับการควบคุมอาคารสูงของประเทศไทยจะส่งผลดีต่อสภาพเศรษฐกิจสังคม และสภาพแวดล้อมโดยรวม |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12092 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.65 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License