กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12102
ชื่อเรื่อง: การจัดรายการ การเปิดรับฟัง ความพึงพอใจ และความต้องการของผู้ฟังสถานีวิทยุเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Programming, listening exposure, satisfaction and, needs of Songkhala Rajabhat University's educational radio station audiences
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธีรารักษ์ โพธิสุวรรณ
วนภรณ์ จักรมานนท์, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์
คำสำคัญ: วิทยุเพื่อการศึกษา
ความพอใจของผู้บริโภค.
วิทยุเพื่อการศึกษา--การศึกษาและการสอน.
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การจัดรายการวิทยุของสถานีวิทยุเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา 2) การเปิดรับฟังรายการของผู้ฟังสถานีวิทยุเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา 3) ความพึงพอใจของผู้ฟังสถานีวิทยุเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ-สงขลา และ 4) ความต้องการของผู้ฟังสถานีวิทยุเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างคือ ผังรายการประจำเดือนเมษายน 2558 และผู้ฟังรายการของสถานีวิทยุเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา จำนวน 396 คน ใช้การเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง โดยใช้แบบวิเคราะห์ผังรายการและแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ และ ใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานีวิทยุเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มีการจัดรายการประเภทบริการสาธารณะมากที่สุด รองลงมาคือ รายการประเภทความรู้ รายการประเภทบันเทิง และรายการประเภทข่าว 2) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุระหว่าง 31-40 ปี มีการศึกษาในระดับปริญญาตรีมากที่สุด ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพข้าราชการ/พนักงานมหาวิทยาลัย และมีรายได้ 15,001-20,000 บาทต่อเดือน ส่วนใหญ่เปิดฟังรายการประเภทความรู้ และฟังในรถยนต์/รถประจำทาง ในช่วงเวลา 15.00-18.00 น. โดยเปิดฟังสัปดาห์ละ 1-2 วัน รายการที่ผู้ฟังชอบฟังมากที่สุด คือ รายการ "บินหลาล่องใต้" และผู้ดำเนินรายการที่ชื่นชอบมากที่สุด คือ ดีเจหมิว 3) กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในภาพรวมด้านประเภทรายการ ผู้ดำเนินรายการ และเทคนิคในระดับมาก โดยสามารถจำแนกได้ดังนี้ (1) กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจรายการประเภทบันเทิงมากที่สุด โดยมีความพึงพอใจในระดับมาก (2) กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจน้ำเสียงของผู้ดำเนินรายการไพเราะมากที่สุด โดยมีความพึงพอใจในระดับมาก (3) กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจด้านความชัดเจนของเสียงในการออกอากาศมากที่สุด โดยมีความพึงพอใจในระดับมาก 4) กลุ่มตัวอย่างต้องการให้ดำเนินรายการด้วยภาษาใต้มากที่สุด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12102
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Comm-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
148643.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.46 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons