Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12164
Title: | ปัจจัยที่ส่งผลต่อการศึกษานอกระบบในยุคชีวิตวิถีใหม่ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบล อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ |
Other Titles: | Factors affecting non-formal education in the new normal Era at sub-district non-formal education and informal education centers in Phra Pradaeng District, Samut Prakan Province |
Authors: | กาญจนา บุญยัง นิยม สักกุนี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | การศึกษานอกระบบโรงเรียน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยด้านการพัฒนาการศึกษา ได้แก่ ปัจจัยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ปัจจัยด้านนักเรียน ปัจจัยด้านครอบครัว และปัจจัยด้านครู ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบล อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ (2) การพัฒนาการศึกษานอกระบบ ในยุคชีวิตวิถีใหม่ ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบล อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ (3) เปรียบเทียบการพัฒนาการศึกษานอกระบบ ในยุคชีวิตวิถีใหม่ ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบล อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และระยะเวลาการศึกษา และ (4) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการพัฒนาการศึกษาที่ส่งผลต่อการพัฒนาการศึกษานอกระบบ ในยุคชีวิตวิถีใหม่ ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบล อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ปัจจัยด้านนักเรียน ปัจจัยด้านครอบครัว และปัจจัยด้านครู ของศูนย์การศึกษานอกระบบ และ การศึกษาตามอัธยาศัยตำบล อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ อยู่ในระดับดี (2) ระดับการพัฒนาการศึกษานอกระบบ ในยุคชีวิตวิถีใหม่ อยู่ในระดับมาก (3) กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และระยะเวลาศึกษาต่างกันจะมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาการศึกษานอกระบบในยุคชีวิตวิถีใหม่ ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบล อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ไม่แตกต่างกัน ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ อายุ อาชีพต่างกัน จะมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาการศึกษานอกระบบ ในยุคชิวิตวิถีใหม่ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) ระดับการพัฒนาการศึกษานอกระบบ ในยุคชีวิตวิถีใหม่ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบล อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านนักเรียนปัจจัยด้านครอบครัว และ ปัจจัยด้านครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12164 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.78 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License