Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12197
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจิตรา เพียรล้ำเลิศ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorชยาภรณ์ บุญพร้อม-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2024-06-10T07:05:36Z-
dc.date.available2024-06-10T07:05:36Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12197-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎี หรือหลักการเกี่ยวกับการบริหาร จัดการสลากกินแบ่งรัฐบาล เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์ทางกฎหมายในการบริหารจัดการสลากกินแบ่งรัฐบาลตาม กฎหมายไทย เปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศสิงคโปร์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหา กฎหมายไทยในการบริหารจัดการสลากกินแบ่งรัฐบาล เพื่อค้นหาแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขเพิ่มเติม บทบัญญัติกฎหมายในเรื่องเกี่ยวกับการบริหารจัดการสลากกินแบ่งรัฐบาล การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากการทบทวนวรรณกรรม หนังสือ วารสาร ตำราทางกฎหมาย วิทยานิพนธ์ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้อง บทความทางวิชาการต่าง ๆ ข้อมูลจากทางสื่ออิเลกทรอนิกส์ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ทำการศึกษา และวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมาย ในการบริหารจัดการสลากกินแบ่งรัฐบาลในส่วนการจัดสรรสลากกินแบ่งรัฐบาล การกำหนดราคาขาย วิธีการ ขาย และบทลงโทษ โดยศึกษาจากพระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2517 รวมทั้งร่าง พระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลในฉบับปัจจุบัน พร้อมกับคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบ แห่งชาติที่ 11/2558 และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 25/2558 แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งฯ ที่ 11/2558 ประกาศ คำสั่ง พร้อมทั้งศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายสลากของต่างประเทศ ได้แก่ กฎหมายสลากกินแบ่งของ ประเทศสหรัฐอเมริกา และกฎหมายสลากกินแบ่งของประเทศสิงคโปร์ เพื่อได้แนวทางในการแก้ไขปัญหาทาง กฎหมายเกี่ยวกับการบริหารจัดการสลากกินแบ่งรัฐบาลของประเทศไทยได้อย่างเหมาะสมแท้จริง ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุสำคัญของปัญหาทางกฎหมายในการบริหารจัดการสลากกินแบ่งรัฐบาล ประกอบด้วย ปัญหาการจัดสรรสลากที่ไม่เป็นธรรม ผูกขาดได้รับเป็นตัวแทนจำหน่ายสลาก ปัญหาการจำหน่าย สลากผ่านตัวแทนจำหน่ายหลายทอด ปัญหาการลงโทษแก่พ่อค้าคนกลางที่จำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคา เนื่องจากมีคนกลางเข้ามาเกี่ยวข้องมากเกินไป และปริมาณสลากส่วนใหญ่ไปตกอยู่ในมือของตัวแทนจำหน่ายราย ใหญ่ ในการแก้ปัญหาดังกล่าวสามารถดำเนินการได้ ดังนี้ ควรกำหนดให้มีการวางหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน กระจาย สลากกินแบ่งให้ผู้จำหน่ายอย่างทั่วถึง และเป็นธรรม กำหนดให้มีตัวแทนจำหน่ายเพียงทอดเดียว ในระบบการ ได้รับใบอนุญาตที่เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างเป็นทางการ กำหนดมาตรการลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนทำการจำหน่าย สลากหลายทอด กำหนดมาตรการลงโทษแก่ผู้ที่จำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคาหรือผู้ที่ทำการรวมสลากฯ เพื่อจำหน่ายเป็นชุดในราคาที่สูงกว่ากำหนด กำหนดให้ใช้ระบบการจำหน่ายสลากในรูปแบบใหม่ โดยต้องแก้ไข เพิ่มเติมพระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2517th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectสลากกินแบ่ง--การจัดการ.--ไทยth_TH
dc.subjectสลากกินแบ่ง--ไทยth_TH
dc.subjectการแก้ปัญหาth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายธุรกิจth_TH
dc.titleปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารจัดการสลากกินแบ่งรัฐบาลth_TH
dc.title.alternativeLegal problem related to lottery managementth_TH
dc.typeOtherth_TH
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis independent study aims to study concepts, theories and legal principles governing the management of the lottery under Thai law, compared to the laws of the United States and Singapore in order to study the problem of Thai law in the management of the lottery and find appropriate guidelines for amending the legal provisions on the management of the lottery. This independent study is a qualitative research by means of research papers from literature reviews, books, journals, legal texts, dissertations, research papers, related thesis various academic articles, electronic both domestic and international. Moreover, this paper study and analyze legal issues in managing the lottery in the government lottery, sales pricing, sales methods and penalties by studying the Government Lottery Office Act B.E. 2517 covering the current government lottery agency bill and with the order of the head of national peace corps 11/2558 and the command of the head of the national peace corps 25/2558 by comparative of foreign lottery law, such as lottery law of the United States and lottery laws of Singapore due to get the right legal solutions for the management of the lottery gambling in Thailand. The study indicated that key issues of legal issues in the management of the lottery consist of the issue of unfair lottery and monopoly has been a lottery dealer. Lottery sales through several dealers. The punishment of the middlemen who sell the lottery. The mediator is too involved and most of the lottery numbers fall into the hands of major dealers. The problem can be solved as follows. It should be clear distribute lottery tickets to distributors widely and fairly. In addition, only one dealer is required in a formal written licensing system and set up punitive measures for violators to distribute lottery tickets. It should provide the measures to punish the seller of the lottery over the price or the lottery in order to sell a set at a higher price, including the use of the new lottery system by amending the Lottery Office Act B.E. 2517en_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
158609.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.16 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons