กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12197
ชื่อเรื่อง: ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารจัดการสลากกินแบ่งรัฐบาล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Legal problem related to lottery management
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จิตรา เพียรล้ำเลิศ
ชยาภรณ์ บุญพร้อม
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
สลากกินแบ่ง--การจัดการ--ไทย
สลากกินแบ่ง--ไทย
การแก้ปัญหา
การศึกษาอิสระ--กฎหมายธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎี หรือหลักการเกี่ยวกับการบริหารจัดการสลากกินแบ่งรัฐบาล เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์ทางกฎหมายในการบริหารจัดการสลากกินแบ่งรัฐบาลตามกฎหมายไทย เปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศสิงคโปร์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหากฎหมายไทยในการบริหารจัดการสลากกินแบ่งรัฐบาล เพื่อค้นหาแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขเพิ่มเติม บทบัญญัติกฎหมายในเรื่องเกี่ยวกับการบริหารจัดการสลากกินแบ่งรัฐบาล การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากการทบทวนวรรณกรรมหนังสือ วารสาร ตำราทางกฎหมาย วิทยานิพนธ์ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้อง บทความทางวิชาการต่าง ๆ ข้อมูลจากทางสื่ออิเลกทรอนิกส์ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ทำการศึกษา และวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมาย ในการบริหารจัดการสลากกินแบ่งรัฐบาลในส่วนการจัดสรรสลากกินแบ่งรัฐบาล การกำหนดราคาขาย วิธีการขาย และบทลงโทษ โดยศึกษาจากพระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2517 รวมทั้งร่างพระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลในฉบับปัจจุบัน พร้อมกับคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 11/2558 และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 25/2558 แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งฯ ที่ 11/2558 ประกาศ คำสั่ง พร้อมทั้งศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายสลากของต่างประเทศ ได้แก่ กฎหมายสลากกินแบ่งของ ประเทศสหรัฐอเมริกา และกฎหมายสลากกินแบ่งของประเทศสิงคโปร์ เพื่อได้แนวทางในการแก้ไขปัญหาทาง กฎหมายเกี่ยวกับการบริหารจัดการสลากกินแบ่งรัฐบาลของประเทศไทยได้อย่างเหมาะสมแท้จริง ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุสำคัญของปัญหาทางกฎหมายในการบริหารจัดการสลากกินแบ่งรัฐบาล ประกอบด้วย ปัญหาการจัดสรรสลากที่ไม่เป็นธรรม ผูกขาดได้รับเป็นตัวแทนจำหน่ายสลาก ปัญหาการจำหน่ายสลากผ่านตัวแทนจำหน่ายหลายทอด ปัญหาการลงโทษแก่พ่อค้าคนกลางที่จำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคา เนื่องจากมีคนกลางเข้ามาเกี่ยวข้องมากเกินไป และปริมาณสลากส่วนใหญ่ไปตกอยู่ในมือของตัวแทนจำหน่ายรายใหญ่ ในการแก้ปัญหาดังกล่าวสามารถดำเนินการได้ ดังนี้ ควรกำหนดให้มีการวางหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน กระจายสลากกินแบ่งให้ผู้จำหน่ายอย่างทั่วถึง และเป็นธรรม กำหนดให้มีตัวแทนจำหน่ายเพียงทอดเดียว ในระบบการได้รับใบอนุญาตที่เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างเป็นทางการ กำหนดมาตรการลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนทำการจำหน่าย สลากหลายทอด กำหนดมาตรการลงโทษแก่ผู้ที่จำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคาหรือผู้ที่ทำการรวมสลากฯ เพื่อจำหน่ายเป็นชุดในราคาที่สูงกว่ากำหนด กำหนดให้ใช้ระบบการจำหน่ายสลากในรูปแบบใหม่ โดยต้องแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2517
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12197
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
158609.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.16 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons