Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12206
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสำเรียง เมฆเกรียงไกร, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorญาดา ศรีนพพงศ์-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2024-06-10T08:36:34Z-
dc.date.available2024-06-10T08:36:34Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12206-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องความรับผิดของผู้ค้ำประกันลูกหนี้ผู้ล้มละลาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความเป็นมา แนวความคิด ทฤษฎี หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายค้ำประกันและระบบกฎหมายล้มละลาย รวมถึงหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดของผู้ค้ำประกันในกรณีที่ลูกหนี้ชั้นต้นตกเป็นบุคคล ล้มละลายทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ เพื่อวิเคราะห์หามาตรการในการให้ความคุ้มครองสิทธิของ ผู้ค้ำประกันเมื่อลูกหนี้ชั้นต้นตกเป็นบุคคลล้มละลายที่เหมาะสมและก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่บรรดาเจ้าหนี้ ทั้งหลาย ลูกหนี้ และผู้ค้ำประกันในคดีล้มละลายต่อไป ทั้งนี้ เนื่องจากเมื่อลูกหนี้ชั้นต้นกลายเป็นบุคคลที่มีหนี้สินล้น พ้นตัวต้องเข้าสู่กระบวนการจัดการทรัพย์สินด้วยวิธีการตามกฎหมายล้มละลายแล้วก็จะมีผลทำให้บุคคลทุกฝ่ายที่ เกี่ยวข้องกับกระบวนการชำระสะสางหนี้สินของลูกหนี้นั้นทั้งหมดต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ซึ่งจากการศึกษากฎหมายดังกล่าวแล้วก็พบว่ามาตรการต่างๆ ในกฎหมายล้มละลายได้ถูก บัญญัติขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเป็นธรรมในการแบ่งเฉลี่ยทรัพย์สินของลูกหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ ทั้งหลาย เปิดโอกาสให้ลูกหนี้สามารถหลุดพ้นจากหนี้สินของตนกลับไปเริ่มต้นใหม่ทางการเงินอีกครั้ง และคุ้มครอง สังคมไม่ให้บุคคลล้มละลายนั้นไปก่อให้เกิดความเสียหายด้วยการก่อหนี้ก่อสินต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด แต่อย่างไรก็ตาม บทบัญญัติบางส่วนของกฎหมายดังกล่าวก็ได้ก่อให้เกิดผลกระทบและสร้างปัญหาความเดือดร้อนไม่เป็นธรรมให้แก่ ผู้ต้ำประกันซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่ได้ยินยอมผูกพันตนต่อเจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้ที่ตนเองมิได้มีส่วนได้เสียใดแทน ลูกหนี้ผู้ล้มละลายและถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงกับการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ผู้ล้มละลายนั้นอย่างรุนแรง การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมายและการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการค้นคว้าและ รวบรวมข้อมูลเป็นลักษณะของการวิจัยเอกสาร โดยทำการศึกษาข้อมูลจากตัวบทกฎหมายต่างๆ หนังสือ ตำรา คำอธิบายกฎหมาย วิทยานิพนธ์ บทความ ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต รายงานการวิจัย ตลอดจนเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง กับความรับผิดของผู้ค้ำประกันต่อเจ้าหนี้เมื่อลูกหนี้ชั้นต้นตกเป็นบุคคลล้มละลายในเชิงกฎหมายของประเทศไทยและ ต่างประเทศ นำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบเพื่อหาข้อสรุปและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับมาตรการในการให้ความคุ้มครอง สิทธิของผู้ค้ำประกันที่เหมาะสมต่อไป ทั้งนี้งานวิจัยเรื่องนี้ได้เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อ ลูกหนี้ชั้นต้นประนอมหนี้ในคดีล้มละลายเป็นผลสำเร็จ และแนวทางการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับความรับผิดของ ผู้ค้ำประกันเมื่อลูกหนี้ชั้นต้นหลุดพ้นจากการตกเป็นบุคคลล้มละลาย โดยเห็นควรให้แก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติ ส้มละลาย พุทธศักราช 2483 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าว เพื่อให้เกิดความเสมอภาคและเป็นธรรมแก่ ผู้ต้ำประกันและบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในคดีล้มละลายทุกฝ่ายมากขึ้น และเพื่อให้กฎหมายเกิดความทันสมัย สอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบันต่อไปth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectกฎหมายแพ่งและพาณิชย์--ค้ำประกันth_TH
dc.titleความรับผิดของผู้ค้ำประกันลูกหนี้ผู้ล้มละลายth_TH
dc.title.alternativeObligation of Bankrupt debtor's Guarantorth_TH
dc.typeOtherth_TH
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe study suggests the solutions to resolve the problem of the guarantor This independent study focuses on the responsibility of the guarantor of bankrupt person. It aims to study history, doctrines, theories, and legal principles related to the law of guarantee and insolvency system, including rights, responsibilities and liabilities of guarantor in case where the debtor is bankrupt in both Thailand and other countries, so as to analyze and find the solutions to appropriately and fairly protect the rights of guarantor and yield to the fair result of all parties. Since after the debtor is filed bankrupt, his property shall be retained in the receiver's custody and will be arranged and disposed by the receiver as prescribed in the Bankruptcy Act B.E. 2483. After rigorous examination of the Bankruptcy Act, the law and the measures under the law tend to be fair in disposing payment to all creditors, giving the chance for debtor to financially start fresh, and protect society for the foreseeable damages that the bankrupt person might cause in the future. However, some part of the Bankruptcy Act has causes problems to the guarantor who is an outsider who binded himself to the debt which is not his own. The guarantor has to pay off debts for debtor and be a direct interested person in bankruptcy case. This independent study is a qualitative legal research. The study utilizes an in-depth analyses of legal paper, textbooks, journals, legal proceedings, theses, articles, internet sources, and reports relating to the responsible of guarantor to the bankrupt person in both Thai and foreigner aspects, and comparatively analyze all data to reach out the summary and suggestion to protect the rights of the guarantor in the future. when the primary debtor is successfully compromise with the creditor in bankruptcy case and the resolution to cure the problem about the guarantor's liability after the debtor is discharged from bankruptcy. This study proposes to amend the Bankruptcy Act B.E. 2483 to create the fair legal measure for the guarantor and other interested persons in bankruptcy cases and modernize the law to compatible with the context of current societyen_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
152868.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.84 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons