กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12206
ชื่อเรื่อง: | ความรับผิดของผู้ค้ำประกันลูกหนี้ผู้ล้มละลาย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Obligation of Bankrupt debtor's Guarantor |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สำเรียง เมฆเกรียงไกร ญาดา ศรีนพพงศ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี กฎหมายแพ่งและพาณิชย์--ค้ำประกัน |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องความรับผิดของผู้ค้ำประกันลูกหนี้ผู้ล้มละลาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา แนวความคิด ทฤษฎี หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายค้ำประกันและระบบกฎหมายล้มละลายรวมถึงหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดของผู้ค้ำประกันในกรณีที่ลูกหนี้ชั้นต้นตกเป็นบุคคลล้มละลายทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ เพื่อวิเคราะห์หามาตรการในการให้ความคุ้มครองสิทธิของผู้ค้ำประกันเมื่อลูกหนี้ชั้นต้นตกเป็นบุคคลล้มละลายที่เหมาะสมและก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลาย ลูกหนี้ และผู้ค้ำประกันในคดีล้มละลายต่อไป ทั้งนี้ เนื่องจากเมื่อลูกหนี้ชั้นต้นกลายเป็นบุคคลที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวต้องเข้าสู่กระบวนการจัดการทรัพย์สินด้วยวิธีการตามกฎหมายล้มละลายแล้วก็จะมีผลทำให้บุคคลทุกฝ่ายที่ เกี่ยวข้องกับกระบวนการชำระสะสางหนี้สินของลูกหนี้นั้นทั้งหมดต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ซึ่งจากการศึกษากฎหมายดังกล่าวแล้วก็พบว่ามาตรการต่างๆ ในกฎหมายล้มละลายได้ถูกบัญญัติขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเป็นธรรมในการแบ่งเฉลี่ยทรัพย์สินของลูกหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลาย เปิดโอกาสให้ลูกหนี้สามารถหลุดพ้นจากหนี้สินของตนกลับไปเริ่มต้นใหม่ทางการเงินอีกครั้ง และคุ้มครองสังคมไม่ให้บุคคลล้มละลายนั้นไปก่อให้เกิดความเสียหายด้วยการก่อหนี้ก่อสินต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด แต่อย่างไรก็ตามบทบัญญัติบางส่วนของกฎหมายดังกล่าวก็ได้ก่อให้เกิดผลกระทบและสร้างปัญหาความเดือดร้อนไม่เป็นธรรมให้แก่ผู้ต้ำประกันซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่ได้ยินยอมผูกพันตนต่อเจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้ที่ตนเองมิได้มีส่วนได้เสียใดแทนลูกหนี้ผู้ล้มละลายและถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงกับการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ผู้ล้มละลายนั้นอย่างรุนแรง การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมายและการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลเป็นลักษณะของการวิจัยเอกสาร โดยทำการศึกษาข้อมูลจากตัวบทกฎหมายต่างๆ หนังสือ ตำราคำอธิบายกฎหมาย วิทยานิพนธ์ บทความ ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต รายงานการวิจัย ตลอดจนเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดของผู้ค้ำประกันต่อเจ้าหนี้เมื่อลูกหนี้ชั้นต้นตกเป็นบุคคลล้มละลายในเชิงกฎหมายของประเทศไทยและต่างประเทศ นำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบเพื่อหาข้อสรุปและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับมาตรการในการให้ความคุ้มครองสิทธิของผู้ค้ำประกันที่เหมาะสมต่อไป ทั้งนี้งานวิจัยเรื่องนี้ได้เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อลูกหนี้ชั้นต้นประนอมหนี้ในคดีล้มละลายเป็นผลสำเร็จ และแนวทางการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อลูกหนี้ชั้นต้นหลุดพ้นจากการตกเป็นบุคคลล้มละลาย โดยเห็นควรให้แก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติส้มละลาย พุทธศักราช 2483 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าว เพื่อให้เกิดความเสมอภาคและเป็นธรรมแก่ผู้ต้ำประกันและบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในคดีล้มละลายทุกฝ่ายมากขึ้น และเพื่อให้กฎหมายเกิดความทันสมัยสอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบันต่อไป |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12206 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
152868.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.84 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License