กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1221
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาคลังข้อมูลการจำหน่ายบัตรโดยสารเครื่องบินเพื่อวิเคราะห์รายได้ของบริษัทการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of an airline ticket-sales data warehouse for revenue analysis of Bangkok Airways Public Co., Ltd
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สำรวย กมลายุตต์
โสภณ สงวนสิทธิอนันต์, 2517-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
พิษณุ ปรมีศนาภรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
การขาย--ตั๋ว
เครื่องบิน--ตั๋ว
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนาโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาคลังข้อมูลการจําหน่าย บัตรโดยสารเครื่องบินเพื่อวิเคราะห์รายได้ของบริษัทการบินกรุงเทพ จํากัด (มหาชน) ข้อมูลนําเข้า ของระบบครอบคลุมข้อมูล 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการปฏิบัติงาน ด้านการวิเคราะห์รายได้ และด้านการเปรียบเทียบผลการดําเนินงานตามตัวบ่งชี้ วิธีการพัฒนาระบบสารสนเทศใช้วิธีวงจรพัฒนาระบบ โดยเริ่มต้นจากการสํารวจเบื้องต้น การศึกษาความเป็นไปได้ การวิเคราะห์ปัญหาของระบบริเวียร่าซึ่งเป็นระบบจัดการรายได้การเก็บรวบรวมความต้องการของผู้ใช้ทั้งหมดเพื่อนํามาวิเคราะห์และออกแบบคลังข้อมูลใหม่องค์ประกอบของคลังข้อมูลที่ออกแบบประกอบด้วย สถาปัตยกรรมการไหลของข้อมูล สถาปัตยกรรมระบบคลังข้อมูล สถาปัตยกรรมบิซิเนสอินเทลลิเจนซ์ ตารางข้อเท็จจริง ตารางข้อมูลเชิงมิติ ส่วนต่อประสานผู้ใช้ และระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัย หลังจากการออกแบบระบบขั้นตอนต่อไปคือการพัฒนาระบบ การทดสอบระบบและการติดตั้งระบบสําหรับผู้ใช้ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ SQL Server 2008, SAP Business Objects XI และ SAP Xcelsius ผลการวิจัยพบว่าได้ระบบคลังข้อมูลการจําหน่ายบัตรโดยสารเครื่องบินเพื่อวิเคราะห์รายได้ของบริษัทการบินกรุงเทพ จํากัด (มหาชน) ประกอบด้วยคลังข้อมูลย่อย 7 ส่วนได้แก่ 1) คลังข้อมูลการจําหน่ายบัตรโดยสาร 2) คลังข้อมูลการเดินทางของผู้โดยสาร 3) คลังข้อมูลการเปลี่ยนบัตรโดยสาร 4) คลังข้อมูลการคืนบัตรโดยสาร 5) คลังข้อมูลการเรียกเก็บเงินกับสายการบินอื่น 6) คลังข้อมูลการจ่ายเงินให้สายการบินอื่น และ 7) คลังข้อมูลรายได้รับล่วงหน้า โดยระบบมีฟังก์ชันอํานวยความสะดวกในการจัดเก็บ ค้นคืน และวิเคราะห์ข้อมูล ทําให้ได้รับประโยชน์ด้านการติดตามผลการดําเนินงาน การบันทึกข้อมูลบัญชี การจัดทําบัญชีรายได้รับล่วงหน้า และการวิเคราะห์รายได้ การประเมินผลการทํางานของระบบโดยกลุ่มผู้ใช้ 6 กลุ่ม พบว่า ผู้ใช้ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจระบบทุกด้านในระดับดี
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1221
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext (7).pdfเอกสารฉบับเต็ม33.96 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons