Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12222
Title: การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีของสมาชิกศูนย์ข้าวชุมชนในอำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
Other Titles: Good quality rice seed production by the members of community rice centers in Mueang Distict, Suphanburi Province
Authors: บำเพ็ญ เขียวหวาน
ฐิตามินทร์ คงสำราญ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
พลสราญ สราญรมย์
Keywords: ข้าว--การผลิต--ไทย
ข้าว--เมล็ดพันธุ์
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้วัตฤประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีของสมาชิกศูนย์ข้าวชุมชนในประเด็นต่อไปนี้ (1) ความรู้และแหล่งความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี (2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีการผลิตมด็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี (3) การยอมรับการใช้เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี และ (4) ปัญหาเกี่ขวกับการผถิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี ประชากรที่ใช้ในกรวิจัยครั้งนี้คือ เกษตรกรในอำเภอเมืองสุพรรณบุรี ที่ขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกศูนย์ข้าวชุมชน ในปี พ.ศ. 2562 จำนวน 149 คน กำหนดจำนวนตัวอย่างตามสูตรทาโร ยามาเน่ ความคลาดเคลื่อนเท่ากับ 0.05 ได้จำนวน 109 คน ทำการกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัย พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาข อายุเฉลี่ย 50.94 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 ประสบการณ์ในการปลูกข้าวเฉลี่ย 22.33 ปี จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.62 คน แรงงานจ้างเฉลี่ย 1.58 คน รายได้จากการขายข้าวเฉลี่ย 7,269.58 บาท ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 4,125.55 บาท (1) สมาชิกศูนย์ข้าวชุมชนมีความรู้อยู่ในระดับมาก โดยฉพาะประเด็นในด้านวิชาการหลังการเก็บเกี่ยว (2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีอยู่ในระดับปานกลาง โดยการดูแลรักษาอยู่ในระดับมากกว่าข้ออื่น ๆ (3) การยอมรับเทคโนโลยีและกรนำไปปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด โดยการยอมรับที่มากกว่าประเด็นอื่น ๆ คือ ด้านการเตรียมดิน ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีในเชิงปฏิบัติ ได้แก่ อายุ จำนวนแรงงานในครัวเรือน รายได้จากการขายข้าวในรอบปีที่ผ่านมา และการเข้ร่วมฝึกอบรม สัมมนา ส่วนประสบการณ์ในการปลูกข้าว จำนวนสมาชิกในครัวเรือน การเข้าร่วมประชุม และความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีมีความสัมพันธ์ในเชิงลบกับการยอมรับเทคโนโลยี และ (4) เกษตรกรมีปัญหาในรื่องฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงไป คือน้ำน้อยและฝนแล้ง และไม่สามารถควบคุมการระบาดของโรคและแมลงได้ โดยมีข้อเสนอแนะว่าศูนย์ข้าวชุมชนควรปรับแนวคิดและกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำของเกษตรกร เพื่อยกระดับมาตรฐานสินค้าและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ซึ่งส่งผลให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12222
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.93 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons