กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12223
ชื่อเรื่อง: การผลิตข้าวสังข์หยดเพื่อการค้าของเกษตรกรในอำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Sangyod rice production for trade by farmers in Khuankhanun District, Pattalung Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นารีรัตน์ สีระสาร
ฐิมาภรณ์ ทองไซร้
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สุนันท์ สีสังข์
คำสำคัญ: ข้าว--การผลิต--ไทย--พัทลุง
ข้าว--การค้า--ไทย--พัทลุง
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทางสังคม และสภาพทางเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวสังข์หยด 2) ศึกษาสภาพการผลิตข้าวสังข์หยดเพื่อการค้าของเกษตรกร ในปีการผลิต 2561/2562 3) ศึกษาศักยภาพในการปฏิบัติการเกษตรที่ดีที่เหมาะสมของเกษตรกรเพื่อการผลิตข้าวสังข์หยด 4) ศึกษาปัญหาของเกษตรกรในการผลิตข้าวสังข์หยดเพื่อการค้า และ 5) ศึกษาความต้องการของเกษตรกรในการรับการส่งเสริมการผลิตข้าวสังข์หยดเพื่อการค้าในอำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ประชากรที่ศึกษาเป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าวสังข์หยดที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับสำนักงานเกษตร อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ปีการผลิต 2561/2562 จำนวน 998 ครัวเรือน สุ่มตัวอย่างอย่างง่ายได้จำนวนตัวอย่าง 170 ตัวอย่าง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 59.01 ปี การศึกษาในระดับประถมศึกษา เป็นสมาชิกกลุ่มสถาบันเกษตรกร จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.29 คน มีรายได้ภาคเกษตรเฉลี่ย 48,275.88 บาทต่อปี รายจ่ายภาคเกษตรเฉลี่ย 24,714.24 บาท ต้นทุนในการทำนาเฉลี่ย 14,417.24 บาทต่อปี พื้นที่ถือครองการเกษตรเฉลี่ย 12.68 ไร่ และเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ 2) เกษตรกรมีพื้นที่ปลูกข้าวสังข์หยดเฉลี่ย 4.24 ไร่ ปลูกแบบหว่านน้ำตม ใช้แรงงานเฉลี่ย 1.82 คน ใช้เทคโนโลยีในการเตรียมดินเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์เอง อาศัยน้ำฝนอย่างเดียว ใช้ทั้งปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ ไม่มีการกำจัดวัชพืช โรคและแมลง และการควบคุมการออกรวง มีการจ้างรถเกี่ยว/นวดข้าว เกษตรกรมีหนี้สินที่กู้จากสหกรณ์การเกษตร และ ธ.ก.ส มีต้นทุนปลูกข้าวสังข์หยดเฉลี่ย 3,171.92 บาท ส่วนใหญ่ไม่ได้เข้าร่วมกลุ่มในการปลูกหรือการแปรรูปข้าวสังข์หยด ผลผลิตส่วนใหญ่ขายเป็นข้าวเปลือก ไม่มีการแปรรูป ราคาข้าวส่วนใหญ่พ่อค้าเป็นผู้กำหนด ได้รับชำระเงินค่าข้าวทันทีขณะที่ขายข้าว 3) เกษตรกรมีการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีเป็นบางครั้งในภาพรวมมากที่สุดเรื่องการขนย้าย การเก็บรักษา และการรวบรวมข้าวเปลือก 4) เกษตรกรมีปัญหาการผลิตข้าวสังข์หยดเพื่อการค้าในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีปัญหาด้านแหล่งน้ำมากที่สุด และ 5) เกษตรกรมีความต้องการส่งเสริมการผลิตข้าวสังข์หยดเพื่อการค้าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีความต้องการเรื่องการจัดจำหน่ายข้าวสังข์หยดมากที่สุด
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12223
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.82 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons