Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12272
Title: | แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนตามหลักการบริหารเชิงดุลยภาพของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา |
Other Titles: | Development guideline based of balance score card concept of community enterprises in Bang Khla District Chachoengsao Province |
Authors: | พลสราญ สราญรมย์ สิรินทิพย์ มีเวียงจันทร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ |
Keywords: | วิสาหกิจชุมชน การส่งเสริมการเกษตร |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา 2) การดำเนินงานตามหลักการบริหารเชิงดุลยภาพของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 3) ความต้องการการส่งเสริมการดำเนินงานตามหลักการบริหารเชิงดุลยภาพของวิสาหกิจชุมชน 4) ปัญหาในการดำเนินงานตามหลักการบริหารเชิงดุลยภาพของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 5) แนวทางการส่งเสริมและดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนตามหลักการบริหารเชิงดุลยภาพของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือเกษตรกรที่จดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนกับสำนักงานเกษตรอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา 16 แห่ง จำนวน 149 คน ศึกษาจากประชากรทั้งหมด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการศึกษาพบว่า 1) สมาชิกร้อยละ 81.9 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 50.7 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.75 คน จำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.02 คน ระยะเวลาในการเป็นสมาชิกวิสาหกิจชุมขน 5.59 ปี มีพื้นที่ทำการเกษตร เฉลี่ย 6.13 ไร่ รายได้ในภาคเกษตรเฉลี่ย 150,355.70 บาท/ครัวเรือน รายได้นอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 65,194.63 บาท/ครัวเรือน รายจ่ายในภาคการเกษตรเฉลี่ย 68,474.50 บาท/ครัวเรือนรายจ่ายนอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 36,379.20 บาท/ครั วเรือน 2) สมาชิกวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่เห็นว่ามีการบริหารจัดการกลุ่มตามหลักการบริหารเชิงดุลยภาพทุกด้าน (3) สมาชิกวิสาหกิจชุมชนมีความต้องการการส่งเสริมตามหลักการบริหารจัดการเชิงดุลยภาพ ระดับมาก 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการเงิน (ค่าเฉลี่ย 4.13) และด้านกระบวนการภายใน (ค่าเฉลี่ย 3.47 ในระดับปานกลาง 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการเรียนรู้และการพัฒนา (ค่าเฉลี่ย 3.04) และด้านลูกค้า (ค่าเฉลี่ย 2.97) 4) สมาชิกวิสาหกิจชุมชนมีปัญหาในระดับมากที่สุด 1 ด้าน คือ ด้านการเงิน (ค่าเฉลี่ย 4.23) ในระดับมาก 3 ด้าน ได้แก่ ด้านกระบวนการภายใน (ค่าเฉลี่ย 4.13) ด้านการเรียนรู้และพัฒนา (ค่าเฉลี่ย 4.02) และด้านลูกค้า (ค่าเฉลี่ย 3.55) 5) แนวทางในการส่ งเสริมการดำเนินงาน ในระดับมากที่สุด 1 ด้าน คือ ด้านการเงิน (ค่าเฉลี่ย 4.44) โดยอันดับแรก คือ ส่งเสริมด้านการจัดทำบัญชีให้แก่สมาชิก รองลงมาคือ ส่งเสริมด้านการบริหารจัดการเงินทุน ในระดับมาก 3 ด้าน ได้แก่ ด้านกระบวนการภายใน (ค่าเฉลี่ย 4.13) ด้านการเรียนรู้และการพัฒนา (ค่าเฉลี่ย 4.02) และด้านลูกค้า (ค่าเฉลี่ย 3.55) |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12272 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.84 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License