Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12273
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจินดา ขลิบทองth_TH
dc.contributor.authorรักพงษ์ วงศ์รอด-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-06-20T02:36:11Z-
dc.date.available2024-06-20T02:36:11Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12273-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจ 2) สภาพการผลิตไผ่ตง 3) ปัญหาอุปสรรค 4) ความต้องการการส่งเสริมการผลิต ไผ่ตงของเกษตรกร อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา ประชากรที่ศึกษาได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกไผ่ตง จำนวน 84 ราย ที่ขึ้นทะเบียนการปลูกไผ่ตงกับสำนักงานเกษตรอำาเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา ในปี พ.ศ. 2561 เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์จากประชากรทั้งหมด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สมาชิกส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลีย 52.39 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.06 คน แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.45 คน โดยมีที่ดินของตนเอง เฉลี่ย 14.55 ไร่ เป็นสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกไผ่อำเภอท่าตะเกียบ ร้อยละ 66.7 ได้รับความรู้เกี่ยวกับการเกษตรจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริม ร้อยละ 72.6 และประกอบอาชีพเสริม ร้อยละ 97.6 2) พื้นที่ปลูกไผ่ตงเฉลี่ย 12.75 ไร่ จำนวนกอเฉลี่ย 48.68 กอต่อไร่ ประสบการณ์ปลูกไผ่ตงเฉลี่ย 12.56 ปี ร้อยละ 76.2 ซื้อกิ่งพันธุ์จากวิสาหกิจชุมชนฯ โดยกิ่งพันธุ์ทั้งหมดขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง ระยะปลูกไผ่ตง 6 เมตร x 6 เมตร ร้อยละ 38.1 ขายผลผลิตให้วิสาหกิจชุมชนฯ ร้อยละ 86.9 รายได้รวมจากการปลูกไผ่ตงของเกษตรกรต่อไร่เฉลี่ย 18,565.48 บาท รายจ่ายรวมจากการปลูกไผ่ตงของเกษตรกรต่อไร่เฉลี่ย 4,041.90 บาท ผลผลิตหน่อไผ่ตงเฉลี่ย 1,624.17 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาสูงสุดเฉลี่ย 24.82 บาทต่อกิโลกรัม ราคาผลผลิตต่ำสุดเฉลี่ย 6.44 บาทต่อกิโลกรัม เกษตรกรส่วนมากปฏิบัติตามแนวทางการผลิตไผ่ตงของกรมส่งเสริมการเกษตรในทุกด้าน ตั้งแต่การเตรียมดิน การให้น้ำการใส่ปุ๋ย การไว้ และการแต่งกอ การสำรวจแมลงศัตรูไผ่ตง และการผลิต ไผ่ตงนอกฤดู ยกเว้นการปฏิบัติในขั้นตอนการปลูก การตัดหน่อ และการทำหน่อไผ่ตงหมดที่มีความแตกต่างออกไป เกษตรกรกรปฏิบัติตามน้อย 3) ปัญหาการผลิต ไผ่ตงของเกษตรกรที่พบในระดับมากที่สุด คือ แหล่งน้ำไม่เพียงพอในการผลิตไผ่ตงนอกฤดูระดับมาก คือ ขาดแรงงานในการจัดการ และการแต่งกอ ระดับปานกลาง คือ ขาดความรู้ในการใช้ปุ๋ยเคมี และระดับน้อย คือดินขาดความอุดมสมบูรณ์ 4) เกษตรกรมีความต้องการส่งเสริมความรู้ด้านการผลิต ไผ่ตงในระดับมากที่สุดจากหน่วยงานราชการ โดยวิธีการส่งเสริมในรูปแบบฝึกปฏิบัติมากที่สุดth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectไผ่ตง--การปลูกth_TH
dc.subjectการส่งเสริมการเกษตรth_TH
dc.titleความต้องการการส่งเสริมการผลิตไผ่ตงของเกษตรกร ในอำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทราth_TH
dc.title.alternativeExtension needs for sweet bamboo production in Thatakiap District Chachoengsao Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study (1) basic social and economic conditions (2) sweet bamboo production condition (3) problems and suggestions (4) extension need for sweet bamboo production of farmers. The population of the study was 84 sweet bamboo production farmers who registered as sweet bamboo producers with Thatakiap agricultural district office, Chachoengsao province in the year 2018. Data was collected by conducting interview. Statistics used in this study were frequency, percentage, minimum value, maximum value, and standard deviation with no random sampling. The results of the research stated that (1) the majority of the members were male with the average age of 52.39 years and the average household labor of 2.45 people. The own the average land of 14.55 Rai. 66.7% of the farmers were members of Thatakiap district sweet bamboo community enterprise group. 72.6% of the farmers received knowledge about agriculture from extension officer and 97.6% had second occupation. (2) The average sweet bamboo area was 12.75 Rai with the average grove of 48.68 per Rai. The average sweet bamboo production experience was 12.56 years. 76.2% of farmers bought scions from community group enterprise. All of the scions were reproduced by grafting. The distance between sweet bamboo production was 6 meter x 6 meter. 38.1% of farmers sold the produces to the community enterprise group, 86.9% had the total income from sweet bamboo production per Rai on average of 18,565.48 Baht and had the total expenses from sweet bamboo production per Rai on average. The average sweet bamboo products per Rai was 1,624.17 kilogram with the average highest price of 24.82 Baht per kilogram and the average lowest product price of 6.44 Baht per kilogram. Most of the farmers adopted the sweet bamboo production guideline of the agricultural extension department in every aspect from soil preparation, production, watering, fertilizer usage, arming and grove tailoring, insect pest of sweet bamboo, off-season sweet bamboo production, the sweet bamboo production to shoot cutting except for the processes of the planting, shoot cutting, and sweet bamboo production which varied that farmers not really do them. (3) The highest level of problem about sweet bamboo production of farmers was the insufficient water resources in the off-season sweet bamboo production. For problem at the high level was the lack of the trunk management and grove tailoring while the problem at the moderate level was the lack of knowledge in chemical fertilizer usage and the problem at the low level was the lack of fertile soil. (4) Farmers wanted to receive the knowledge extension regarding sweet bamboo production at the highest level from government agency. They wanted to receive the extension in the form of practice the mosten_US
dc.contributor.coadvisorเฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญth_TH
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.65 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons