กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12273
ชื่อเรื่อง: ความต้องการการส่งเสริมการผลิตไผ่ตงของเกษตรกร ในอำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension needs for sweet bamboo production in Thatakiap District Chachoengsao Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จินดา ขลิบทอง
รักพงษ์ วงศ์รอด
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ
คำสำคัญ: ไผ่ตง--การปลูก
การส่งเสริมการเกษตร
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจ 2) สภาพการผลิตไผ่ตง 3) ปัญหาอุปสรรค 4) ความต้องการการส่งเสริมการผลิต ไผ่ตงของเกษตรกร อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา ประชากรที่ศึกษาได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกไผ่ตง จำนวน 84 ราย ที่ขึ้นทะเบียนการปลูกไผ่ตงกับสำนักงานเกษตรอำาเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา ในปี พ.ศ. 2561 เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์จากประชากรทั้งหมด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สมาชิกส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลีย 52.39 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.06 คน แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.45 คน โดยมีที่ดินของตนเอง เฉลี่ย 14.55 ไร่ เป็นสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกไผ่อำเภอท่าตะเกียบ ร้อยละ 66.7 ได้รับความรู้เกี่ยวกับการเกษตรจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริม ร้อยละ 72.6 และประกอบอาชีพเสริม ร้อยละ 97.6 2) พื้นที่ปลูกไผ่ตงเฉลี่ย 12.75 ไร่ จำนวนกอเฉลี่ย 48.68 กอต่อไร่ ประสบการณ์ปลูกไผ่ตงเฉลี่ย 12.56 ปี ร้อยละ 76.2 ซื้อกิ่งพันธุ์จากวิสาหกิจชุมชนฯ โดยกิ่งพันธุ์ทั้งหมดขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง ระยะปลูกไผ่ตง 6 เมตร x 6 เมตร ร้อยละ 38.1 ขายผลผลิตให้วิสาหกิจชุมชนฯ ร้อยละ 86.9 รายได้รวมจากการปลูกไผ่ตงของเกษตรกรต่อไร่เฉลี่ย 18,565.48 บาท รายจ่ายรวมจากการปลูกไผ่ตงของเกษตรกรต่อไร่เฉลี่ย 4,041.90 บาท ผลผลิตหน่อไผ่ตงเฉลี่ย 1,624.17 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาสูงสุดเฉลี่ย 24.82 บาทต่อกิโลกรัม ราคาผลผลิตต่ำสุดเฉลี่ย 6.44 บาทต่อกิโลกรัม เกษตรกรส่วนมากปฏิบัติตามแนวทางการผลิตไผ่ตงของกรมส่งเสริมการเกษตรในทุกด้าน ตั้งแต่การเตรียมดิน การให้น้ำการใส่ปุ๋ย การไว้ และการแต่งกอ การสำรวจแมลงศัตรูไผ่ตง และการผลิต ไผ่ตงนอกฤดู ยกเว้นการปฏิบัติในขั้นตอนการปลูก การตัดหน่อ และการทำหน่อไผ่ตงหมดที่มีความแตกต่างออกไป เกษตรกรกรปฏิบัติตามน้อย 3) ปัญหาการผลิต ไผ่ตงของเกษตรกรที่พบในระดับมากที่สุด คือ แหล่งน้ำไม่เพียงพอในการผลิตไผ่ตงนอกฤดูระดับมาก คือ ขาดแรงงานในการจัดการ และการแต่งกอ ระดับปานกลาง คือ ขาดความรู้ในการใช้ปุ๋ยเคมี และระดับน้อย คือดินขาดความอุดมสมบูรณ์ 4) เกษตรกรมีความต้องการส่งเสริมความรู้ด้านการผลิต ไผ่ตงในระดับมากที่สุดจากหน่วยงานราชการ โดยวิธีการส่งเสริมในรูปแบบฝึกปฏิบัติมากที่สุด
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12273
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.65 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons