Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12277
Title: | การพัฒนารูปแบบการจัดการการดูแลผู้ป่วยกระดูกต้นขาหักที่ได้รับการผ่าตัดใส่โลหะยึดตรึงภายใน โดยประยุกต์แนวคิดการจัดการความรู้โรงพยาบาลกระบี่ |
Other Titles: | The development of a care management model for femoral fracture under internal fixation through applying knowledge management, Krabi Hospital |
Authors: | กาญจนา ศรีสวัสดิ์ ฉัตรกมล บุญทอง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา เปรมฤทัย น้อยหมื่นไวย |
Keywords: | กระดูกหัก การดูแลผู้ป่วย |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างรูปแบบการจัดการการดูแลผู้ป่วยกระดูกต้นขาหักที่ได้รับการผ่าตัดใส่โลหะยึดตรึงภายใน โรงพยาบาลกระบี่ และ 2) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการการดูแลผู้ป่วยกระดูกต้นขาหักที่ได้รับการผ่าตัดใส่โลหะยึดตรึงภายในที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง เลือกแบบเจาะจง มี 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) สำหรับการสนทนากลุ่มเพื่อสร้างรูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยกระดูกต้นขาหักที่ได้รับการผ่าตัดใส่โลหะยึดตรึงภายใน คือ ทีมสหสาขาวิชาชีพ 11 คน ประกอบด้วย ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู พยาบาลวิชาชีพ นักกายภาพบำบัด และนักโภชนากร และกลุ่มผู้รับบริการ 5 คน และ 2) สำหรับประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการการดูแลผู้ป่วยกระดูกต้นขาหักที่ได้รับการผ่าตัดใส่โลหะยึดตรึงภายใน ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ 5 คน และพยาบาลวิชาชีพ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ประเด็นแนวคำถามการสนทนากลุ่ม และ 2) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการการดูแลผู้ป่วยกระดูกต้นขาหักที่ได้รับการผ่าตัดใส่โลหะยึดตรึงภายใน ค่าความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการการดูแลผู้ป่วยกระดูกต้นขาหักที่ได้รับการผ่าตัดใส่โลหะยึดตรึงภายใน โดยประยุกต์แนวคิดการจัดการความรู้เซกิ โมเดล มีการสร้าง 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ขั้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2) ขั้นการสกัดความรู้ 3) ขั้นการควบรวมความรู้ และ 4) ขั้นการผนึกฝังความรู้ ได้รูปแบบการจัดการการดูแลผู้ป่วยกระดูกต้นขาหักที่ได้รับการผ่าตัดใส่โลหะยึดตรึงภายในดังนี้ (1) การประเมินสภาพแรกรับ (2) การเตรียมก่อนผ่าตัด (3) การดูแลระยะหลังผ่าตัด 24-72 ชั่วโมง และ (4) การฟื้นฟูสภาพและการวางแผนจําหน่าย และ 2) ความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการการดูแลผู้ป่วยกระดูกต้นขาหักที่ได้รับการผ่าตัดใส่โลหะยึดตรึงภายใน พบว่าในภาพรวมมีความเหมาะสมคิดเป็นร้อยละ 87.42 และร้อยละ 94.00 |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12277 |
Appears in Collections: | Nurse-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 22 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License