Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12282
Title: | ปัญหาเกี่ยวกับสิทธิในทางน้ำสาธารณะของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย |
Other Titles: | Issues of problems relating to public waterway rights of the people under the law on navigation in Thai waters |
Authors: | มาลี สุรเชษฐ วีรศักดิ์ ไทรงาม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สาธิตา วิมลคุณารักษ์ |
Keywords: | กฎหมายพาณิชยนาวี |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีทั่วไปเกี่ยวกับสิทธิในทางน้ำสาธารณะ และกฎหมายมหาชนที่เกี่ยวกับสิทธิในทางน้ำสาธารณะ (2) ศึกษาตัวบทกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (3) ศึกษากฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ กฎหมายของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ประเทศญี่ปุ่น สาธารณรัฐสิงคโปร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร ที่เกี่ยวกับสิทธิในทางน้ำสาธารณะของประชาชน (4) ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายของประเทศไทยกับกฎหมายของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ประเทศญี่ปุ่น สาธารณรัฐสิงคโปร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักรที่เกี่ยวกับสิทธิในทางน้ำสาธารณะ และ (3) เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสิทธิในทางสาธารณะของประชาชน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมายโดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยเอกสารกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ตำรา บทความทางวิชาการ งานวิจัย ความเห็นของสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา คําพิพากษาศาลปกครองสูงสุดและศาลฎีกา และกฎหมายต่างประเทศ โดยผู้วิจัยจะทำการสังเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากเนื้อหาที่ได้จากการวิจัยเอกสารและการทบทวนเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการเสนอแนะแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสิทธิในทางน้ำสาธารณะของประชาชนวรรณกรรม ผลการศึกษาพบว่า (1) ตามแนวคิดและทฤษฎีทั่วไป กฎหมายยอมรับสิทธิทั่วไปของประชาชนในทางน้ำสาธารณะ เช่น สิทธิในการใช้ทางน้ำสาธารณะเพื่อการสัญจร เพื่อการท่องเที่ยว การสันทนาการ และการประมง เป็นต้น ตามหลักกฎหมายมหาชน ทางน้ำสาธารณะเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินซึ่งกฎหมายไม่ยินยอมให้บุคคลใดมีสิทธิพิเศษเนื่องจากกระทบต่อประโยชน์สาธารณะและขัดต่อหลักความเสมอภาค เว้นแต่มีเหตุผลเพื่อประโยชน์ที่ยิ่งกว่า เช่น การอำนวยความสะดวกให้ประชาชน (2) กฎหมายไทยมีบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิในทางน้ำสาธารณะหลายฉบับ ได้แก่ กฎหมายการเดินเรือ ในน่านน้ำไทย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายกฎหมายที่ดิน เป็นต้น สิทธิในทางน้ำสาธารณะจึงมีความไม่ชัดเจนเป็นเหตุให้การบังคับใช้กฎหมาย การทับซ้อนกัน (3) สิทธิในทางน้ำสาธารณะของประชาชนตามกฎหมายของต่างประเทศที่มีความชัดเจน ได้แก่ ตามรัฐธรรมนูญของประเทศสหรัฐอเมริกาได้รับรองสิทธิของประชาชนในการสัญจรทางน้ำ การสันทนาการ และการจับสัตว์น้ำ กฎหมายของสาธารณรัฐสิงคโปร์และกฎหมายของ สหราชอาณาจักร ได้บัญญัติให้ประชาชนที่ประสงค์จะมีสิทธิพิเศษนอกเหนือจากสิทธิทั่วไปต้องขออนุญาตจากรัฐ และกฎหมายการวางแผนเชิงพื้นที่ของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์และกฎหมายพื้นฐานสําหรับที่ดินของประเทศญี่ปุ่นต้องให้ประชาชนที่ถูกกระทบสิทธิ์มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการใช้ที่ดินและการอนุญาตให้ใช้ที่ดินที่เป็นทางน้ำสาธารณะด้วย (4) ตามกฎหมายไทยและกฎหมายสาธารณรัฐสิงคโปร์และกฎหมายของสหราชอาณาจักรอนุญาตให้ประชาชนมีสิทธิพิเศษในทางน้ำสาธารณะยิ่งกว่าประชาชนทั่วไปได้แต่ต้องจ่ายค่าตอบแทนให้แก่รัฐตามหลักความเสมอภาค กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ระบุประเภทของสิทธิพื้นฐานในทางน้ำสาธารณะไว้ กฎหมายของประเทศญี่ปุ่นเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ถูกกระทบสิทธิและการอนุญาตทําได้เท่าที่จำเป็นตามหลักความได้สัดส่วนตามที่ประชาชนเห็นสมควร ในขณะที่กฎหมายไทยไม่มีความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว (5) สมควรแก้ไขกฎหมายการเดินเรือในน่านน้ำไทยเพื่อรับรองสิทธิในทางน้ำสาธารณะของประชาชนให้ชัดเจนโดยนําหลักการของสิทธิในทางน้ำสาธารณะตามกฎหมายต่าง ๆ มาบัญญัติไว้ในกฎหมายเพียงฉบับเดียว และควรกำหนดการมีส่วนร่วมของประชาชนและวิธีการบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปตามสิทธิในทางน้ำสาธารณะของประชาชน และเพื่อประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12282 |
Appears in Collections: | Law-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 36.79 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License