Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12289
Title: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของบุคลากรทางการแพทย์ต่อบริการของกลุ่มห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ด้านควบคุมโรคตามมาตรฐาน ISO 15189 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา
Other Titles: Factors related to medical staff satisfaction with medical laboratory services (ISO 15189: Disease Control) under the Office of Disease Prevention and Control 12 Songkhla Province
Authors: อารยา ประเสริฐชัย
ฐิติมา ไกรรินทร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
พาณี สีตกะลิน
Keywords: บุคลากรทางการแพทย์--ความพอใจในการทำงาน
การทำงาน
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเชิงสำรวจนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจัยคุณลักษณะส่วนบุคคลและการรับรู้บริการกับความพึงพอใจต่อบริการ และ (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคลและการรับรู้บริการกับความพึงพอใจของบุคลากรทางการแพทย์ต่อบริการกลุ่มห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ด้านควบคุมโรคตามมาตรฐาน ISO 15189 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา ประชากรที่ศึกษา คือ บุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลเครือข่ายในเขตพื้นที่รับผิดชอบ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ประกอบด้วย จังหวัดสงขลา พัทลุง ตรัง สตูล ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส จำนวน 120 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดคสอบความสัมพันธ์แบบไคสแควร์และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า (1) บุคลากรทางการแพทย์ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 41.81 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี ปฏิบัติงานตำแหน่งนักเทคนิคการแพทย์ มีประสบการณ์ในการทำงาน 21 ปีขึ้นไป โดยมีประสบการณ์ในการทำงานเฉลี่ย 17.14 ปี ส่วนใหญ่ใช้บริการการตรวจหาปริมาณเชื้อเอชไอวีในกระแสเลือดความถี่ในการใช้บริการ จำนวน 1 ครั้งต่อเดือน การรับรู้บริการและความพึงพอใจต่อบริการอยู่ในระดับมากที่สุด และ (2) ปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของบุคลากรทางการแพทย์ต่อบริการกลุ่มห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ด้านควบคุมโรคตามมาตรฐาน IS0 15189 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การรับรู้บริการ มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของบุคลากรทางการแพทย์ต่อบริการกลุ่มห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ด้านควบคุมโรคตามมาตร ฐาน ISO 15189สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Description: วิทยานิพนธ์ (ส.ม. (บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12289
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.19 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons