Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12293
Title: | การใช้สื่อหลอมรวมของผู้รับสารตามโครงการประชาสัมพันธ์ Thai MOOC |
Other Titles: | Audience’s use of Convergence Media in the Thai MOOC Public Relations Project |
Authors: | กมลรัฐ อินทรทัศน์ วชิรวิชญ์ อัคราวิสิฐพล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ปิยฉัตร ล้อมชวการ |
Keywords: | มูกส์ (การเรียนการสอนผ่านเว็บ) การหลอมรวมสื่อ |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้สื่อหลอมรวมของผู้รับสารตามโครงการประชาสัมพันธ์ Thai MOOC เกี่ยวกับ 1) ลักษณะทางประชากร 2) การรับรู้ 3) ประเภทสื่อที่ใช้ประโยชน์เพื่อการเรียนการสอน และ 4) ความพึงพอใจ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่มีประสบการณ์ในการเปิดรับสื่อหลอมรวมเพื่อการประชาสัมพันธ์โครงการ Thai MOOC ในปี 2561 - 2562 เท่านั้น ใช้วิธีการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามสูตรการหาขนาดตัวอย่างที่ไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอนของคอแครน โดยกำหนดระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 และระดับนัยสำคัญ 0.5 จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามออนไลน์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะทางประชากรของผู้รับสารตามโครงการประชาสัมพันธ์ Thai MOOC ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 19-38 ปี พักอาศัยอยู่ต่างจังหวัด มีการศึกษาระดับในขั้นปริญญาตรี ประกอบอาชีพข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนตามลำดับสถานภาพโสด มีรายได้เฉลี่ย 20,000 - 35,000 บาทต่อเดือน 2) การรับรู้ของผู้รับสาร พบว่า มีการรับรู้สื่อหลอมรวมทุกประเภท และที่รับรู้ในระดับมากที่สุดเรียงตามลำดับคือ โพสต์ที่เป็นข้อความทางเฟซบุ๊กวิดีโอทางยูทูบ โพสต์ที่เป็นรูปภาพทางเฟซบุ๊ก การบรอดแคสต์รูปภาพทางไลน์แอด และการใช้สื่อร่วมกับกิจกรรมต่าง ๆ 3) ประเภทสื่อที่ผู้รับสารใช้ประโยชน์เพื่อการเรียนการสอนพบว่า มีการใช้ประโยชน์จากสื่อทุกประเภท โดยสื่อที่ใช้มากที่สุดเรียงตามลำดับคือ วิดีโอทางยูทูบ ข้อความทางเฟซบุ๊ก รูปภาพทางเฟซบุ๊ก การบรอดแคสต์ข้อความทางไลน์แอด การบรอดแคสต์รูปภาพทางไลน์แอด และ 4) ความพึงพอใจของผู้รับสาร พบว่า มีความพึงพอใจต่อสื่อหลอมรวมทุกประเภทในระดับมากที่สุดเรียงตามลำดับคือวิดีโอทางยูทูบ ข้อความทางเฟซบุ๊ก รูปภาพทางเฟซบุ๊ก การบรอดแคสต์รูปภาพทางไลน์แอด และการบรอดแคสต์ข้อความทางไลน์แอด |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (การบูรณาการสื่อสาร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12293 |
Appears in Collections: | Comm-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License