กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12309
ชื่อเรื่อง: | สภาพและแนวทางการพัฒนาการเป็นโรงเรียนแห่งความสุขของโรงเรียน กลุ่มบางละมุง 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Conditions and guidelines for the development of happy schools in Bang Lamung Group 3 schools under Chon Buri Primary Educational Service Area Office 3 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อรรณพ จีนะวัฒน์ ภัทรพล ก้อนเพชร, 2535- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี ความสุข การบริหารโรงเรียนประถมศึกษา--ไทย--ชลบุรี การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการเป็นโรงเรียนแห่งความสุขของโรงเรียนกลุ่มบางละมุง 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการเป็นโรงเรียนแห่งความสุขของโรงเรียนกลุ่มบางละมุง 3 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ครูในกลุ่มโรงเรียนบางละมุง 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 จำนวน 175 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า แบบตรวจสอบรายการและแบบสอบถามปลายเปิด เพื่อสอบถามเกี่ยวกับสภาพและแนวทางการเป็นโรงเรียนแห่งความสุขที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.96 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) สภาพการเป็นโรงเรียนแห่งความสุข โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านกระบวนการ ด้านบุคคล และด้านสถานที่ และ 2) แนวทางการพัฒนาการเป็นโรงเรียนแห่งความสุข ได้แก่ (1) ด้านบุคคล คือโรงเรียนควรส่งเสริมความรู้ด้านวัฒนธรรมความหลากหลายทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน โรงเรียนควรสร้างความรู้สึกเป็นครอบครัวในสภาพแวดล้อมของโรงเรียน และโรงเรียนควรมีการยกย่องครูที่อุทิศตนให้แก่โรงเรียนและสังคม (2) ด้านกระบวนการ คือ โรงเรียนควรมีการชื่นชมประกาศเกียรติคุณ มีการมอบรางวัลให้กับครูและนักเรียน และโรงเรียนจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นหมู่คณะให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม และ (3) ด้านสถานที่ คือ โรงเรียนควรมีพื้นที่สำหรับผ่อนคลายและทำกิจกรรมสร้างสรรค์ และโรงเรียนควรให้ความสำคัญกับความสุขทุกพื้นที่ในโรงเรียน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12309 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.45 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License