Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12311
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสันทัด ทองรินทร์th_TH
dc.contributor.authorณัฐพงศ์ สัมปหังสิต, 2526-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-06-25T06:56:00Z-
dc.date.available2024-06-25T06:56:00Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12311en_US
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (นิเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโทัยธรรมาธิราช, 2563th_TH
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างทีมกีฬาฟุตบอลทีมชาติไทยสู่ความเป็นเลิศเกี่ยวกับ 1) รูปแบบการสื่อสาร 2) วิธีการสื่อสาร 3) กลยุทธ์การสื่อสาร 4) สมรรถนะการสื่อสารของผู้ฝึกสอนและนักกีฬา 5) ปัจจัยที่มีผลต่อการสื่อสาร 6) แนวทางการสื่อสาร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี โดยการวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 15 คน ประกอบด้วย หัวหน้าผู้ฝึกสอน 3 คน และกัปตันทีม 1 คน และกลุ่มนักฟุตบอลทีมชาติไทยชุดซีเกมส์จำนวน 11 คนซึ่งเคยสังกัดทีมชาติไทยชุดซีเกมส์ที่ชนะเลิศอันดับ 1 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ในการสัมภาษณ์เชิงลึกและสัมภาษณ์กลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุป ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากนักกีฬาฟุตบอลทีมชาติไทย จำนวน 5 ทีม รวมทั้งหมด 225 คน โดยเลือกแบบเจาะจง จากนักกีฬาฟุตบอลชายทีมชาติไทย ทีมเยาวชนไทยอายุ 16-23 ปี ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการสื่อสาร ประกอบด้วยการสื่อสารภายในตนเองของหัวหน้า ผู้ฝึกสอน กัปตันทีม และนักกีฬาเพื่อกำหนดเป้าหมาย สร้างแรงจูงใจให้กับตนเองและวางแผนวิธีการดำเนินงาน การสื่อสารระหว่างบุคคลเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและลดความกดดัน การสื่อสารกลุ่มเล็กเพื่อกำหนดบทบาทหน้าที่ การสร้างปฏิสัมพันธ์ และกำหนดเป้าหมายร่วมกันภายในทีมใน 3 ช่วงการแข่งขัน คือ ก่อน ระหว่าง และ หลังการแข่งขัน 2)วิธีการสื่อสาร พบว่า ใช้วิธีการสื่อสารทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษาควบคู่กัน ทั้ง 3 ช่วง ได้แก่ ก่อน ระหว่าง และหลังการแข่งขัน แต่ในช่วงระหว่างการแข่งขันเน้นการสื่อสารด้วยอวัจนภาษา 3) กลยุทธ์การสื่อสาร ได้แก่ การสื่อสารผ่านกิจกรรม การสั่งการของหัวหน้าผู้ฝึกสอนเพื่อสร้างเป้าหมายให้มีทิศทางเดียวกัน และใช้คำพูดในการปลูกฝังภาพจำในช่วงก่อนการแข่งขัน โดยหัวหน้าผู้ฝึกสอนจะอธิบายมุมมองของการแข่งขันในเชิงบวก การสื่อสารเพื่อสร้างมโนภาพและจินตภาพ โดยใช้ในช่วงระหว่างการแข่งขันเพื่อให้นักกีฬาเกิดภาพจำลองตามสถานการณ์เพื่อให้สามารถจัดการกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตามภาพที่จำลองไว้ได้ทันที และการสร้างแรงจูงใจเพื่อการต่อยอดความเป็นเลิศ โดยใช้ในช่วงหลังการแข่งขันเพื่อให้นักกีฬานำประสบการณ์เชิงบวกไปสื่อสารให้กับนักกีฬารุ่นต่อไป 4) หัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมกีฬาฟุตบอลทีมชาติไทยมีสมรรถนะการสื่อสารด้านการสร้างแรงจูงใจและมีความเป็นผู้นำ 5) ปัจจัยที่มีผลต่อการสื่อสาร พบว่า การสื่อสารระหว่างนักกีฬาภายในทีมมีผลต่อการมีปฎิสัมพันธ์ระหว่างกันมากที่สุดรองลงมา คือ ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนมีผลต่อการสื่อสารแบบไม่เป็นทางการ และความสัมพันธ์ส่วนบุคคลของนักกีฬามีผลต่อการสื่อสารระหว่างนักกีฬาภายในทีม 6) แนวทางการพัฒนาการสื่อสาร ประกอบด้วย (1) รูปแบบการสื่อสารภายในบุคคล ระหว่างบุคคล และกลุ่ม (2) วิธีการสื่อสารใช้วัจนภาษาและอวัจนภาษา และ(3) กลยุทธ์การสื่อสารช่วงก่อนการแข่งขันใช้กลยุทธ์การสื่อสารผ่านกิจกรรม การสั่งการ ระหว่างการแข่งขันใช้การการสื่อสารเพื่อปลูกฝังภาพจำ สร้างโนภาพและจินตภาพ และช่วงหลังการแข่งขันใช้การสื่อสารเพื่อสร้างแรงจูงใจth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectทีมฟุตบอล--การสื่อสารth_TH
dc.subjectการสื่อสารระหว่างบุคคลth_TH
dc.titleแนวทางการพัฒนาการสื่อสารเพื่อสร้างทีมกีฬาฟุตบอลทีมชาติไทยสู่ความเป็นเลิศth_TH
dc.title.alternativeApproaches to developing communications to foster excellence in Thailand’s national football teamen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (นิเทศศาสตร์)th_TH
dc.degree.levelปริญญาเอกth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิเทศศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research was to study the development of excellence in Thailand’s national football team in terms of 1) patterns of communication; 2) methods of communication; 3) communication strategies; 4) communication capabilities of the team’s coaches and players; 5) factors that affect the team’s communication; and 6) approaches to improving communications. This was a mixed-methods research. For the qualitative portion, the 15 key informants consisted of 3 head coaches, 1 team captain and 11 players who were in the Thai national football team when it won first place in the SEA Games. Data were collected through in-depth interviews using an interview form and a group discussion and were analyzed deductively. For the quantitative portion, data were collected from the 225 members of 5 national teams (chosen through purposive sampling from among players aged 16-23 in the national youth football league). The data collection tool was a questionnaire and data were analyzed using percentage, mean, and standard deviation. The results showed that 1) patterns of communication consisted of individual internal self-communication of the coaches, captain, and players for goal-setting, creating incentives, and planning actions; interpersonal communications to exchange information and reduce stress; and small group communication to assign roles, build interactions and set common goals for the team. These patterns were used before, during and after matches. 2) Methods of communication included both verbal and nonverbal communication before, during and after matches, but mostly nonverbal communication during matches. Communication strategies consisted of communicating via activities, head coaches giving commands to align common team goals, using words to instill mental imagery before matches, head coaches explaining positive angles of competing, communication to create visions and imaginary pictures during the matches to give players a mental model of the situation so they could react immediately to manage the present situation in the moment, and creating inspiration to build on their level of excellence after the matches so that the players could pass their positive experiences on to the next generations of athletes. 4) Head coaches of the Thai national football team had the capability to communicate to create incentive and had leadership capacities. 5) Factors that affected communication were, foremost, communication between team members, which impacted the relationships within the team the most; second was the assistant coaches, who impacted informal communications; and lastly, the personal relationships between different players affected communications within the team. 6) Recommended approaches to improving communications are (a) developing intrapersonal, interpersonal and group communications patterns; (b) developing verbal and nonverbal communication methods; (c) using the communication strategies of activities and commands before matches, imagery and vision building during matches, and communication for incentive-building after matchesen_US
dc.contributor.coadvisorไพบูรณ์ คะเชนทรพรรค์th_TH
dc.contributor.coadvisorอนุสรณ์ มนตรีth_TH
Appears in Collections:Comm-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT ณัฐพงศ์ สัมปหังสิต.pdfเอกสารฉบับเต็ม21.53 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons