Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12317
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, อาจารย์ที่ปรึกษา | th_TH |
dc.contributor.advisor | เรณุการ์ ทองคำรอด, อาจารย์ที่ปรึกษา | th_TH |
dc.contributor.author | ระพีพร แพทย์จะเกร็ง, 2510- | - |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2024-06-25T08:16:47Z | - |
dc.date.available | 2024-06-25T08:16:47Z | - |
dc.date.issued | 2563 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12317 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยแบบผสมผสานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ของภาวะโลหิตจางในระยะตั้งครรภ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโลหิตจางในระยะตั้งครรภ์ของสตรีมุสลิมที่มารับบริการคลอดในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดปัตตานี การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาเชิงปริมาณ โดยศึกษาเวชระเบียนของสตรีมุสลิมที่มารับบริการคลอดในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดปัตตานี จำนวน 332 ฉบับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับภาวะโลหิตจางจำนวน 8 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคส์สแควร์ และ วิเคราะห์ถดถอยแบบโลจิสติกและ ระยะที่ 2 การศึกษาเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 40 คน ได้แก่ สตรีมุสลิมที่มีภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์จากระยะที่ 1 15 คน ผู้มีอิทธิพลต่อสตรีมุสลิม ได้แก่ สามี มารดา และโต๊ะบีแด 18 คน และ พยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการสุขภาพแก่สตรีตั้งครรภ์มุสลิม 7 คน ผู้วิจัยบันทึก และถอดเทปแบบคำต่อคำ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า สตรีมุสลิมมีภาวะโลหิตจางในระยะตั้งครรภ์ ร้อยละ 32.83 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโลหิตจางในระยะตั้งครรภ์ของสตรีมุสลิม ได้แก่ อายุครรภ์เมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรกการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพ และจำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ (p<0.05) และเมื่อทดสอบอิทธิพลร่วมของปัจจัยคัดสรรต่อภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์มุสลิม พบว่า อายุครรภ์เมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรกมีความสัมพันธ์กับภาวะโลหิตจางในระยะตั้งครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (OR 2.114, 95%Cl 1.33 - 3.37) การศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า ปัจจัยที่ทำให้สตรีตั้งครรภ์มุสลิมสามารถเอาชนะภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ ได้แก่ (1) การมาฝากครรภ์เร็ว (2) กลัวอันตรายกับบุตรในครรภ์และตนเอง (3) ความห่วงใยและการดูแลเอาใจใส่จากครอบครัว และ (4) การ "กล้า" ขัดความเชื่อของผู้มีอิทธิพลในครอบครัว และปฏิบัติตัวเพื่อให้มีสุขภาพดี และ 2) ปัจจัยที่ทำให้ต้องอยู่กับภาวะโลหิตจางตลอดการตั้งครรภ์ ได้แก่ (1) ความเชื่อว่าภาวะโลหิตจางไม่มีอันตราย (2) การมาฝากครรภ์ล่าช้า (3) การไม่มาฝากครรภ์ตามนัด (4) ไม่วางแผนครอบครัว มีบุตรตั้งแต่อายุน้อย หรือมีบุตรติดกันหลายคน (5) ไม่รับประทานยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กอย่างสม่ำเสมอตามแผนการรักษา (6) รับประทานอาหารไม่เพียงพอ และ (7) ไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อแก้ไขภาวะโลหิตจาง | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | เลือดจางขณะตั้งครรภ์ | th_TH |
dc.title | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโลหิตจางในระยะตั้งครรภ์ของสตรีมุสลิมที่มารับบริการคลอดในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดปัตตานี | th_TH |
dc.title.alternative | Factors related to anemia during pregnancy of muslim women who received Delivery Services in the Community Hospitals, Pattani Province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The aim of this mixed methods research was to explore the incidence of anemia during pregnancy and investigate factors related to anemia during pregnancy among Muslim women who received delivery services in community hospitals of Pattani Province The research was divided into 2 phases: Phase 1 quantitative studies; to study from 332 medical records of Muslim women who received delivery services in community hospitals of Pattani Province. The questionnaire used as research tool contained 8 items about anemia. Data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, Chi square and multiple logistic regression. Phase 2; qualitative studies; by in-depth interviews 40 key informants included 15 Muslim women who diagnosed with anemia during pregnancy from the previous phase, 18 influential people of Muslim pregnant women (husband, mother and Tebedae) and 7 professional nurses who provide care with Muslim pregnant women. The researcher recorded and transcribed verbatim. Data were analyzed by content analysis. The results showed that the 32.8% of Muslim women had anemia during pregnancy. Factors Related significantly to Anemia during Pregnancy of Muslim Women were gestational age at the first visit, and completion at least 5 visits of antenatal clinic and the gravidity (p<0.05). Multivariate analysis showed that gestational age at the first visit was significantly related to anemia in pregnancy. (OR 2.114, 95%CI 1.33 - 3.37). Qualitative study found that the factors related to overcome anemia of pregnant Muslim women were (1) early attended at antenatal clinic, (2) fear of danger to their unborn children and themselves, (3) concern and care from the family members, and (4) “daring” against influential family beliefs and behave to be healthy. Contrary, the key factors related to persist anemia during pregnancy were: (1) the belief that anemia was not dangerous. (2) Delayed first attend antenatal clinic. (3) Default/non-attendance at antenatal clinic. (4) Noncompliance with iron supplement uptake. (5) Unhealthy eating during pregnancy and (6) failure to modify behaviors to treat anemia | en_US |
Appears in Collections: | Nurse-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.62 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License