กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12327
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของเภสัชกรตามมาตรฐานเภสัชกรรมบริการของโรงพยาบาลในเขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 2
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors related to the performance of pharmacists according to the pharmaceutical service standards of Hospitals in Public Health Region 2
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นิตยา เพ็ญศิรินภา, อาจารย์ที่ปรึกษา
บุปผารัตน์ ปรีชาวนา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: เภสัชกร
เภสัชกรรมของโรงพยาบาล
การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับการปฏิบัติงานด้านเภสัชกรรมบริการของเกสัชกร ตามมาตรฐานงานบริการเภสัชกรรมของโรงพยาบาล (2) คุณลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยด้านหน่วยงาน ปัจจัยค้ำจุน และปัจจัยจูงใจของเกสัชกร (3) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยด้านหน่วยงาน ปัจจัยค้ำจุนและปัจจัยจูงใจ กับการปฏิบัติงานด้านเภสัชกรรมบริการของเภสัชกร และ (4) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานด้านเกสัชกร รมบริการของเภสัชกร กลุ่มตัวอย่างคือ เภสัชกรโรงพยาบาลที่ปฏิบัติงานด้านเกสัชกรรมบริการในเขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 2 ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่ายจำนวน 162 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงของแเบบสอบถามด้านปัจจัยค้ำจุน ปัจจัยจูงใจ และการปฏิบัติงานด้านเภสัชกรรม บริการเท่ากับ 0.873, 0.887 และ 0.739 ตามลำดับ ได้แบบสอบถามกลับคืน 114 ชุดหรือร้อยละ 70.37 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์และสัมประสิทธิ์สหสมพันธ์ของเพียร์สันผลการวิจัยพบว่า (1) การปฏิบัติงานด้านเภสัชกรรมบริการของเภสัชกรโคยรวมอยู่ในระดับมาก (2) เภสัชกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง สถานภาพ โสด ประสบการณ์การปฏิบัติงานประมาณปี เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาค 30 เตียง ด้านปัจจัยค้ำจุนและปัจจัยจูงใจของเภสัชกรโดยรวมอยู่ในระดับมาก (3) คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยด้านหน่วยงานไม่มีความสัมพันธ์กับปฏิบัติงานด้านเภสัชกรรมบริการของเภสัชกร ส่วนปัจัยจุนและปัจจัยจูงใจโดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปฏิบัติงานด้านเกสัชกรรมบริการของเภสัชกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (4) ปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานโดยรวมได้แก่ กำลังคนไม่เพียงพอ ปริมาณภาระงานมีมาก การบริหารจัดการงานด้านเภสัชกรรมบริการไม่มีความชัดเจน และข้อเสนอแนะโดยรวมได้แก่ ควรจัดสรรบุคลากรเพิ่มและกำหนดแผนการปฏิบัติงานที่มีความชัดเจน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12327
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_115682.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.9 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons