กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12333
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorวรางคณา ผลประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorบดินทร์ แดงหนำth_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.date.accessioned2024-06-26T04:17:24Z-
dc.date.available2024-06-26T04:17:24Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12333en_US
dc.description.abstractจากการปฏิรูประบบราชการในปี พ.ศ. 2545 รัฐบาลได้มีนโยบายในการปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดทำงบประมาณไปสู่ระบบการจัดการงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน เพื่อให้งบประมาณเป็นเครื่องมือในการจัดสรรทรัพยากรที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ และส่งเสริมให้หน่วยงานทุกระดับ มีบทบาทในการตัดสินใจดำเนินการเพื่อสนองตอบต่อนโยบายของรัฐบาลมากขึ้นรวมทั้งจัดให้มีระบบควบคุมตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพและโปร่งใส และจะต้องคำนึงถึงเป้าหมายยุทธศาสตร์ระดับชาติ ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ เป้าหมายการให้บริการสาธารณะของกระทรวง และภารกิจของหน่วยงานเป็นสำคัญ โดยในการจัดสรรงบประมาณที่มุ่งเน้นผลงานจะจัดสรรตามวิสัยทัศน์หรือเป้าหมายระยะยาว และยุทธศาสตร์หรือวิธีการดำเนินงานที่จะทำให้เข้าสู่เป้าหมายของหน่วยงาน ดังนั้นส่วนราชการทุกแห่งจึงต้องมีการจัดทำวิสัยทัศน์พันธกิจ เป้าหมายระยะสั้น เป้าหมายระยะยาว การกำหนดยุทธศาสตร์ แผนงาน กิจกรรม และระบุเป้าหมายที่มีตัวชี้วัดผลผลิตและผลลัพธ์ที่สามารถตรวจสอบได้ วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้ 1) เพื่อประเมินสถานการณ์ ปัญหา อุปสรรค ในกระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สาธารณสุขจังหวัดกระบี่ 2) เพื่อจัดทำคู่มือการจัดทำเเผนยุทธคาสตร์ สาธารณสุขจังหวัดกระบี่ 3) เพื่อประเมินผลการใช้คู่มือการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สาธารณสุขจังหวัดกระบี่ ในด้านความรู้ และความพึงพอใจ วิธีการศึกษาทำโดยการค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ตั้งแต่การวิเคราะห์องค์กร การกำหนดกลยุทธ์ การแปลงกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ การควบคุมกำกับและติดตามประเมินผล กำหนดเนื้อหาในคู่มือเป็นกระบวนการจัดทำแผนตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งสิ้นสุดกระบวนการทั้งนี้มีการประเมินผลการใช้คู่มือ โดยมีการเปรียบเทียบผลการประเมินความรู้ การปฏิบัติงาน ความพึงพอใจ ก่อนและหลังการใช้คู่มือโดยผู้รับผิดชอบงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุขระดับอำเภอ 8 คน ในจังหวัดกระบี่ คู่มือการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สาธารณสุขจังหวัดกระบี่เล่มนี้ ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่ ส่วนที่ 1) บทนำ ประกอบด้วยความเป็นมา และความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ของการจัดทำคู่มือกรอบแนวคิดการจัดทำคู่มือ ขอบเขตของคู่มือ นิยามศัพท์ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ส่วนที่ 2) ทบทวนวรรณกรรมประกอบด้วย แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับแผนยุทธศาสตร์ นโยบาย แนวทาง การจัดทำแผนยุทธศาสตร์สาธารณสุขจังหวัดกระบี่ และส่วนที่ 3) แผนยุทธตาสตร์สาธารณสุขจังหวัดกระบี่ คู่มือการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สาธารณสุขจังหวัดกระบี่ที่จัดทำขึ้นเป็นเพียงการรวบรวมข้อมูลจากการดำเนินงานของจังหวัดกระบี่เท่านั้น ดังนั้น อาจใช้เป็นแนวทางการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สาธารณสุขของหน่วยงานแห่งอื่นได้ แต่ควรมีการปรับเปลี่ยนตามข้อเท็จจริงตามบริบทในแต่ละ หน่วยงานตามความเหมาะสมคำสำคัญ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ การวิเคราะห์องค์กร การกำหนดกลยุทธ์ การแปลงกลยุทธ์สู่การปฏิบัติการควบคุมกำกับและติดตามประเมินผลth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectสาธารณสุขจังหวัดกระบี่--การวางแผนth_TH
dc.subjectการวางแผนเชิงกลยุทธ์th_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์th_TH
dc.titleคู่มือกระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สาธารณสุขจังหวัดกระบี่th_TH
dc.title.alternativeHandbook of health strategic plan, Krabi Provinceth_TH
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_124979.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.62 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons