กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12335
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตหลักสี่กรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors related to the implementation of health volunteers in prevention and control of dengue haemorrhagic fever in Laksi District, Bangkok
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นิตยา เพ็ญศิรินภา, อาจารย์ที่ปรึกษา
บุปผาชาติ ศรีพิบูลย์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ไข้เลือดออก--การป้องกันและควบคุม
อาสาสมัครสาธารณสุข
การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคลการรับรู้ในบทบาทการรับรู้ต่อโรคไข้เลือดออก ปัจจัยสนับสนุนการปฏิบัติงานละการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ในบทบาท การรับรู้ต่อโรคไข้เลือดออกและ ปัจจัยสนับสนุนการปฏิบัติงาน กับการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกของ อสส. ในเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร และ (3) ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ อสส. เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร จำนวน 302 คน กลุ่มตัวอย่าง 175 คนได้จากการสุ่มแบบชั้นภูมิตามชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม ที่มีค่าความเที่ยง 0.81 สถิติที่ใช้ในการวิเคระห์ข้อมูลคือสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า (1) อสส. ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 60.59 ปี เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท มีประสบการณ์ทำงาน เป็น อสส. 6-10 ปี และ ส่วนใหญ่มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในชุมชนที่รับผิดชอบการรับรู้บทบาทหน้าที่ในการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและการรับรู้ต่อโรคไข้เลือดออก อยู่ในระดับสูง การได้รับปัจจัยสนับสนุนในการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนการดำเนินงานทั้งการควบคุมป้องกันโรคล่วงหน้า และการควบคุมโรคเมื่อมีผู้ป่วย อยู่ในระดับสูง (2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการดำเนินงานควบคุมมป้องกันโรคไข้เลือดออกล่วงหน้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ อายุ การรับรู้บทบาท การรับรู้ต่อโรค และปัจจัยสนับสนุนการปฏิบัติงาน สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการดำเนินงานควบคุมโรคเมื่อมีผู้ป่วย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05 คือ การรับรู้บทบาทการรับรู้ต่อโรค และปัจจัยสนับสนุนการปฏิบัติงาน เเละ (3) ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานของ อสส. ได้แก่ ขาดวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงาน ประชาชนในชุมชนไม่ให้ความร่วมมือ ขาดผู้รับผิดชอบกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในที่สาธารณะ และ อสส. ขาดความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกข้อเสนอแนะ คือ ควรสนับสนุนอุปกรณ์ เจ้าหน้าที่ควรออกพื้นที่ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข ประสานขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนโดยการสร้างเครือข่าย และการให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกแก่ อสส. ในการประชุมประจำเดือนอย่างสม่ำเสมอ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12335
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_125295.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.91 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons