Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12337
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเยาวภา ติอัชสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorนันทนา เชี่ยวชาญth_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.date.accessioned2024-06-26T07:23:28Z-
dc.date.available2024-06-26T07:23:28Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12337en_US
dc.description.abstractการศึกษารูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้มิวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ลักษณะทางประชากร เศรษฐกิจ และสังคม (2) ระดับความรู้ในการสร้างเสริมสุขภาพ (3) องค์ประกอบและระดับของปัจจัยสนับสนุนและจูงใจการปฏิบัติงาน (4) องค์ประกอบและระดับของกิจกรรมการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน (5) ตัวแปรทำนายระดับการมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน และ (6) ปัญหา/อุปสรรคในการปฏิบัติงานของ อสส. ประชากรที่ศึกษาคือ อสส. ในเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร 347 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีกำหนดสัดส่วนให้ได้ อสส. จำนวน 190 คน กระจายครอบคลุม 74 ชุมชน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม 5 ฉบับสำหรับสอบถาม ข้อมูลลักษณะทางประชากร เศรษฐกิจ และ สังคม ความรู้ในการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน (มีความเที่ยง = 0.743) ปัจจัยสนับสนุนและจูงใจการปฏิบัติงาน (มีความเที่ยง = 0.902) การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน (มีความเที่ยง = 0.945) และปัญหาอุปสรรคของ อสส. เก็บข้อมูลโดยการทอดแบบสอบถาม การตอบกลับร้อยล: 100 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ปัจจัย และการวิเคราะห์การถดถอยพหุ ผลการศึกษาพบว่า (1) อสส. ส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง อายุเฉลี่ย 58.59 ปี จบประถมศึกษา สถานภาพสมรสคู่ เป็นแม่บ้าน รายได้ต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ปฏิบัติงาน อสส. นานเฉลี่ย 6.96 ปี ประมาณครั้งหนึ่งมีตำแหน่งทางสังคม (2) อสส. มีความรู้ที่ถูกต้องโดยภาพรวมเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ ทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับดีมาก (3) มี 3 องค์ประกอบของปัจจัยภายนอกที่สนับสนุน และมี 3 องค์ประกอบของปัจจัยภายในที่จูงใจ การปฏิบัติงาน ค่าเฉลี่ยระดับการรับรู้ถึงปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน โดยภาพรวมและรายปัจจัย อยู่ในระดับค่อนข้างมาก (4) มี 6 องค์ประกอบของกิจกรรมการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพ ค่าเฉลี่ยระดับการมีส่วนร่วมโดยภาพรวมอยู่ในระดับค่อนข้างมาก (5) มี 3 ตัวแปรทำนายของระดับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพของ อสส. คือ ระดับการรับรู้ปัจจัยภายในที่จูงใจ และระดับการรับรู้ปัจจัยภายนอกที่สนับสนุนการปฏิบัติงาน และระยะเวลาปฏิบัติงาน อสส. และ (อสส. ร้อยละ 13.1 ระบุประชาชน และกรรมการชุมชนไม่ให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพของ อสส.th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectอาสาสมัครสาธารณสุข--ไทย--กรุงเทพฯth_TH
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุข เขตสายไหม กรุงเทพมหานครth_TH
dc.title.alternativeFactors related to the participation on community-based health promotion intervention of health volunteers in Sai Mai District, Bangkoken_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารสาธารณสุข)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_125354.pdfเอกสารฉบับเต็ม21.21 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons