Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12337
Title: | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุข เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Factors related to the participation on community-based health promotion intervention of health volunteers in Sai Mai District, Bangkok |
Authors: | เยาวภา ติอัชสุวรรณ นันทนา เชี่ยวชาญ, 2505- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี อาสาสมัครสาธารณสุข--ไทย--กรุงเทพฯ |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษารูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้มิวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ลักษณะทางประชากร เศรษฐกิจ และสังคม (2) ระดับความรู้ในการสร้างเสริมสุขภาพ (3) องค์ประกอบและระดับของปัจจัยสนับสนุนและจูงใจการปฏิบัติงาน (4) องค์ประกอบและระดับของกิจกรรมการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน (5) ตัวแปรทำนายระดับการมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน และ (6) ปัญหา/อุปสรรคในการปฏิบัติงานของ อสส. ประชากรที่ศึกษาคือ อสส. ในเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร 347 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีกำหนดสัดส่วนให้ได้ อสส. จำนวน 190 คน กระจายครอบคลุม 74 ชุมชน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม 5 ฉบับสำหรับสอบถาม ข้อมูลลักษณะทางประชากร เศรษฐกิจ และ สังคม ความรู้ในการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน (มีความเที่ยง = 0.743) ปัจจัยสนับสนุนและจูงใจการปฏิบัติงาน (มีความเที่ยง = 0.902) การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน (มีความเที่ยง = 0.945) และปัญหาอุปสรรคของ อสส. เก็บข้อมูลโดยการทอดแบบสอบถาม การตอบกลับร้อยล: 100 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ปัจจัย และการวิเคราะห์การถดถอยพหุ ผลการศึกษาพบว่า (1) อสส. ส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง อายุเฉลี่ย 58.59 ปี จบประถมศึกษา สถานภาพสมรสคู่ เป็นแม่บ้าน รายได้ต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ปฏิบัติงาน อสส. นานเฉลี่ย 6.96 ปี ประมาณครั้งหนึ่งมีตำแหน่งทางสังคม (2) อสส. มีความรู้ที่ถูกต้องโดยภาพรวมเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ ทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับดีมาก (3) มี 3 องค์ประกอบของปัจจัยภายนอกที่สนับสนุน และมี 3 องค์ประกอบของปัจจัยภายในที่จูงใจ การปฏิบัติงาน ค่าเฉลี่ยระดับการรับรู้ถึงปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน โดยภาพรวมและรายปัจจัย อยู่ในระดับค่อนข้างมาก (4) มี 6 องค์ประกอบของกิจกรรมการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพ ค่าเฉลี่ยระดับการมีส่วนร่วมโดยภาพรวมอยู่ในระดับค่อนข้างมาก (5) มี 3 ตัวแปรทำนายของระดับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพของ อสส. คือ ระดับการรับรู้ปัจจัยภายในที่จูงใจ และระดับการรับรู้ปัจจัยภายนอกที่สนับสนุนการปฏิบัติงาน และระยะเวลาปฏิบัติงาน อสส. และ (อสส. ร้อยละ 13.1 ระบุประชาชน และกรรมการชุมชนไม่ให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพของ อสส. |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12337 |
Appears in Collections: | Health-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_125354.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 21.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License