กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12338
ชื่อเรื่อง: | กระบวนการจัดการกลุ่มออกกำลังกาย กรณีศึกษากลุ่มแอโรบิค วิ่งและโยคะ ภายใต้การสนับสนุนของกองทัพภาคที่ 2 จังหวัดนครราชสีมา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Management process of exercise groups : a case study of aerobic, joking and yoga groups under the supporting of the Royal Army Region 2, Nakhon Ratchasima province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นิตยา เพ็ญศิรินภา นุจรินทร์ หิรัญคำ, 2510- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี การออกกำลังกาย--ไทย--นครราชสีมา |
วันที่เผยแพร่: | 2551 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สถานการณ์เกี่ยวกับกลุ่มออกกำลังกายและกระบวนการจัดการของกลุ่มออกกำลังกาย และ (2) ปัจจัยแห่งความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในมุมมองของกลุ่มออกกำลังกายภายใต้การสนับสนุนของกองทัพภาคที่ 2 จังหวัดนครราชสีมา รูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษากลุ่มออกกำลังกายที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพภาคที่ 2 จังหวัดนครราชสีมา ที่มีสมาชิกเข้าร่วมกิจกรรม และมีการดำเนินงานของกลุ่มอย่างต่อเนื่อง โดยเลือกแบบเจาะจง 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแอโรบิค วิ่งและ โยคะ ผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มออกกำลังกาย คือ ผู้บริหารกองทัพภาคที่ 2 ผู้บริหารกลุ่มออกกำลังกาย และตัวแทนสมาชิกที่ได้รับประโยชน์ของแต่ละกลุ่มออกกำลังกายที่ศึกษาที่เลือกแบบเจาะจง จำนวน 29 คน เก็บข้อมูล โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการสนทนากลุ่มตามแนวทางการสัมภาษณ์ที่ผ่านการทำการตรวจสอบคุณภาพ โดยผู้เขี่ยวชาญ ทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ตรวจสอบความสอดคล้องของข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ก่อนสรุปประเด็นที่จะเขียนเชิงพรรณนา โดยทำการศึกษาระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม 2552 ผลการศึกษาพบว่า ( 1) สถานการณ์ของกลุ่มออกกำลังกายทั้ง 3 กลุ่ม มีการก่อกำเนิดจากการรวมตัวของสมาชิกเพื่อออกกำลังกาย โดยในช่วงแรก กองทัพภาคที่2 จังหวัคนครราชสีมา ให้การสนับสนุนการจัดการชมรม ปัจจุบันวัตถุประสงค์ของกลุ่มเน้นการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ และเพื่อการแข่งขันทั้งในระดับจังหวัดและระดับประเทศ โดยกระบวนการบริหารจัดการกลุ่มออกกำลังกายมีคณะกรรมการที่บริหารแบบไม่เป็นทางการ สมาชิกมาร่วมออกกำลังกายเพื่อการมีสุขภาพดี และผลจากการร่วมกิจกรรมทำให้ร่างกายแข็งแรง (2) ปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ กองทัพภาคที่ 2 จังหวัดนครราชสีมา ให้การสนับสนุนสถานที่ออกกำลังกายที่มีความสวยงาม และให้งบประมาณสนับสนุนบางโอกาส การมีผู้นำกลุ่มที่ชอบออกกำลังกาย มีความเสียสละ และเป็นที่ศรัทธาของสมาชิก รวมถึงสมาชิกมีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากรและกลุ่มสามารถพึ่งพาตนเองได้เป็นหลัก ปัญหาอุปสรรคที่พบคือความช่วยเหลือจากองค์กรหน่วยงานอื่น ๆ ยังมีน้อย บทเรียนสำคัญที่ได้ คือ ให้ทุกคนทำด้วยใจและศรัทธาจึงจะเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง และสิ่งท้าทายที่อยากทำหรือพัฒนาต่อไปในอนาคตคือสร้างแหล่งออกกำลังกายเพื่อประชาชนเพิ่มและพัฒนาสถานที่ออกกำลังกายให้ได้มาตรฐาน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12338 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_125707.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 6.74 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License