กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12339
ชื่อเรื่อง: การมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดำเนินงานคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของตำบลสิชล อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Participation of village health volunteers in performance of the cervical cancer screening in Sichon Subdistrict, Sichon District, Nakhon Si Thammarat Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรางคณา ผลประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
บุปผา เลิศวาสนา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
อาสาสมัครสาธารณสุข--การมีส่วนร่วมของประชาชน
มะเร็งปากมดลูก
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) คุณลักษณะประชากรของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (2) การรับรู้บทบาทหน้าที่ในการดำเนินงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (3) แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ด้านปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุน ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (4) การมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดำเนินงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และ (5) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะส่วนประชากร การรับรู้บทบาทหน้าที่ แรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดำเนินงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ทุกคน จำนวน 140 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันผลการวิจัยพบว่า (1) อสม. ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 44 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา อาชีพเกษตรกรรม รายได้ครอบครัวเฉลี่ย 8,953 บาทต่อเดือน ระยะเวลาการเป็น อสม. เฉลี่ย 8.86 ปี (2) อสม. มีการรับรู้บทบาทหน้าที่อยู่ในระดับสูง (3) ปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของ อสม. อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนปัจจัยค้ำจุนการปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูง (4) ระดับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก อยู่ในระดับสูง และ (5) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุข ในการดำเนินงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ การรับรู้บทบาทหน้าที่ แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน อายุและระยะเวลาการเป็น อสม.
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12339
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_125729.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.86 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons