Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12341
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอารยา ประเสริฐชัย, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorพเยาว์ ศิขรสุวรรณth_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.date.accessioned2024-06-26T07:52:18Z-
dc.date.available2024-06-26T07:52:18Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12341en_US
dc.description.abstractการก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยเป็นปรากฎการณ์ที่ชัดเจนของสังคมไทยในศตวรรษที่ 21 และปัญหาสุขภาพช่องปากเป็นปัญหาที่สำคัญในผู้สูงอายุและกระทบต่อคุณภาพชีวิต การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคลปัจจัยสุขภาพช่องปากและคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลบ้านนา จังหวัดนครนายก (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยสุขภาพช่องปาก กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจโดยศึกษาคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลบ้านนา จังหวัดนครนายก จำนวน 280 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือน เมษายน-พฤษภาคม 2554 โดยใช้แบบสัมภาษณ์ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.78 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติเชิงวิเคราะห์ ได้แก่ ทคสอบฟิชชอร์ เอ็กซ์แซค และการทดสอบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 60- 69 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา สมรสและอยู่อาศัยกับคู่สมรส มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 3,000 บาท มีปัญหาสุขภาพช่องปากส่วนใหญ่ ได้แก่ ฟันผุ ฟันเทียมหลวม และอาการปากแห้ง ตามลำดับ ผู้สูงอายุมีระดับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากโดยรวมอยู่ในระดับดี โดยพบว่าปัญหาสุขภาพช่องปากกระทบต่อคุณภาพชีวิตด้านการกินอาหาร ด้านการพูดหรือการออกเสียง และด้านการทำความสะอาดช่องปาก ตามลำดับ (2) การปวดฟันและการมีเหงือกบวมมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลบ้านนา จังหวัดนครนายก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 การมีเลือดออกจากเหงือก และการพูดไม่ชัดจากการใส่ฟันเทียมมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลบ้านนา จังหวัดนครนายก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้คือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุควรมีงานทันตสาธารณสุข โดยเน้นการบำบัดรักษาทางทันตกรรมเพื่อแก้ปัญหาการปวดฟัน การมีเหงือกบวม การมีเลือดออกจากเหงือก และการพูดไม่ชัดจากการใส่ฟันเทียม อย่างมีประสิทธิภาพโดยประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับ และควรทำการส่งเสริมป้องกันโรคและฟื้นฟูสภาพของช่องปากอย่างต่อเนื่องควบคู่กันไปด้วย รวมทั้งให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก และสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านทางชมรมผู้สูงอายุ ซึ่งช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตและส่งผลต่อการมีชีวิตที่ยืนขาวของผู้สูงอายุth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุ--สุขภาพและอนามัย--ไทยth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุ--ไทย--นครนายกth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์th_TH
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลบ้านนา จังหวัดนครนายกth_TH
dc.title.alternativeFactors related to oral health-related quality of the Banna Hospital Elderly's Lifte in Club, Nakhon Nayok provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารสาธารณสุข)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_125852.pdfเอกสารฉบับเต็ม46.79 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons