Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12343
Title: การสังเคราะห์รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโรงงานผลิตเยื่อกระดาษ
Other Titles: Synthesis of environmental impact assessment report (EIA) of Pulp Mills
Authors: จักรกฤษณ์ ศิวะเดชาเทพ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภุชงค์ จุณณทัศน์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
โรงงานผลิตเยื่อกระดาษ--ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาเปรียบเทียบรายละเอียดของรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโรงงานผลิตเยื่อกระดาษ (2) วิเคราะห์ความเหมือน และความแตกต่าง ข้อดี และ ข้อเสียของรายละเอียดต่างๆในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโรงงานเยื่อกระดาษ (3) สังเคราะห์รายละเอียดของรายงาน และกระทบสิ่งแวดล้อม เสนอความคิดเห็นเพื่อการปรับปรุง พัฒนาการศึกษา และการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม การศึกษานี้ดำเนินการโดยการคัดเลือกและรวบรวมรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดคล้อม จำนวน 6 รายงานที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยโรงงานที่ใช้ไม้เป็นวัตถุดิบจำนวน 4 รายงาน และเป็นโรงงานที่ใช้ชานอ้อยเป็นวัตถุดิบจำนวน 2 รายงาน เพื่อทำการวิเคราะห์ เปรียบเทียบ และสังเคราะห์ในรายละเอียดของรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดคล้อม ผลจากการศึกษาพบว่า (1) สิ่งที่ควรทำการศึกษาเปรียบเทียบ ได้แก่ การเปรียบเทียบส่วนประกอบและข้อมูลทั่วไปของรายงาน กระบวนการผลิต การใช้น้ำ มลพิษทางอากาศและการควบคุม น้ำเสียและการควบคุม กากของเสีย และการควบคุม การประเมินผลกระทบต่อคุณภาพอากาศ การประเมินผลกระทบต่อคุณภาพน้ำผิวดิน การเสนอมาตรการป้องกัน และติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมเนื่องจากมลพิษทางอากาศ และมลพิษจากน้ำเสีย (2) ความเหมือนที่เป็นข้อดี เช่น มีหัวข้อหลักของรายงาน มีการใช้ข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิ มีการใช้วัตถุดิบที่เหลือใช้และกากของเสียเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า มีการใช้เครื่องกำจัดฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิตย์ มีการรายงานคุณภาพน้ำก่อนและหลังการบำบัด มีการศึกษาตรวจวัดคุณภาพอากาศ และคุณภาพน้ำผิวดินในพื้นที่รอบโครงการ มีการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในการศึกษาการแพร่กระจายของมลพิษทางอากาศ มีการสำรวจความคิดเห็นของชุมชน มีมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมโดยการตรวจวัดดัชนีที่สำคัญปีละ 2 ครั้ง ส่วนความเหมือนที่เป็นข้อเสีย ได้แก่ กระบวนการผลิตที่ใช้ในการศึกษาเป็นการนำเสนอกระบวนการผลิตเบื้องต้นที่ยังไม่มีข้อมูลสมบูรณ์ สำหรับความแตกต่าง คือ การมีและไม่มีบทย่อ มีการนำเสนอกระบวนการผลิตในรายละเอียดที่แตกต่างกัน แหล่งน้ำใช้แตกต่างกัน มีการกำจัดกากของเสียที่แตกต่างกัน และการจัดการน้ำเสียที่แตกต่างกัน (3) ผลการสังเคราะห์และการให้ข้อเสนอแนะ ได้แก่ ควรมีการจัดทำบทคัดย่อ ควรนำเสนอข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาให้ครบถ้วนและสมบูรณ์ ควรมีการจัดการน้ำอย่างบูรณาการ ควรมีการจัดการกากของเสียที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และควรติดตั้งระบบการควบคุมที่ประสานกันระหว่างหน่วยผลิตและอุปกรณ์กำจัดมลพิษ นอกจากนี้ในการประเมินผลกระทบ การเสนอมาตรการป้องกัน และมาตการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ควรมีการจัดการอย่างบูรณาการ และควรมีการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12343
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_127341.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.79 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons