Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12348
Title: | การสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการยกระดับย่านเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดกโลก |
Other Titles: | Communications to build participation in raising Songkhla Old Town to world heritage status |
Authors: | ไพบูรณ์ คะเชนทรพรรค์ ฐานันดร ไพโรจน์, 2533- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สันทัด ทองรินทร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ การสื่อสารในการพัฒนาชุมชน--ไทย--สงขลา |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการยกระดับย่านเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดกโลกในการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับ 1) กระบวนการสื่อสาร 2) การเปิดรับสื่อ 3) การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และ 4) เสนอแนะแนวทางการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ คณะทำงานด้านการสื่อสารการยกระดับย่านเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดกโลก จำนวน 6 คน เลือกตัวอย่างด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัย คือแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการสร้างข้อสรุป ส่วนการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนใน อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา จำนวน 400 คน สุ่มเลือกตัวอย่างด้วยวิธีการแบบชั้นภูมิ เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการยกระดับย่านเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดกโลก เริ่มจากคณะทำงานด้านการสื่อสารได้มีการกำหนดเป้าหมายในการสื่อสารร่วมกันโดยเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วม สารที่ใช้ในการสื่อสารเป็นข้อมูลเกี่ยวกับย่านเมืองเก่าสงขลาที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมายและผ่านการคัดเลือกอย่างมีหลักเกณฑ์ มีเหตุผลและเป็นที่ยอมรับ ส่วนช่องทางการสื่อสารที่ใช้มีความหลากหลาย ทั่วถึง และมุ่งเน้นการมีส่วนร่วม ได้แก่ สื่อบุคคล สื่อใหม่ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่ออื่นๆ โดยกลุ่มเป้าหมายหลักในการรับสารเป็นประชาชนในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 2) กลุ่มตัวอย่างเปิดรับสื่อเกี่ยวกับการยกระดับย่านเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดกโลกผ่านสื่อเฟซบุ๊ก ภาพวาดบนผนัง อินเทอร์เน็ต และโทรทัศน์ตามลำดับ 3) กลุ่มตัวอย่างรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการยกระดับย่านเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดกโลกอยู่ในระดับมาก และ 4) ข้อเสนอแนะแนวทางการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับย่านเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดกโลก มีดังนี้ (1) ผู้นำการสื่อสารต้องปรับเปลี่ยนบทบาทจากผู้ส่งสารเป็นผู้สนับสนุน และประชาชนผู้รับสารควรปรับเปลี่ยนจากผู้รับสารเป็นผู้ใช้สาร (2) ควรมีการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างชุมชนและตัวแทนชุมชน (3) ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถใช้ช่องทางการสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารได้อย่างต่อเนื่อง (4) สารที่ใช้ในการสื่อสารต้องเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต สถานการณ์และเรื่องราวที่เชื่อมโยงกับชุมชน และ (5) ควรสนับสนุนให้ชุมชนเกิดการปรึกษาหารือร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (นิเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12348 |
Appears in Collections: | Comm-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 18.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License