กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12351
ชื่อเรื่อง: การสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งบุหลัง อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Communication for building participation for community development of Tung Bulan Subdistrict Administrative Organization, Thung Wa District, Satun Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิทยาธร ท่อแก้ว
อนุ สารบัญ, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
กานต์ บุญศิริ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น--วิทยานิพนธ์
การสื่อสารในการพัฒนาชุมชน--ไทย--สตูล
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งบุหลัง อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล เกี่ยวกับ 1) กระบวนการสื่อสาร และ 2) แนวทางการพัฒนาการสื่อสาร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก เลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจงจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงในการสื่อสารสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งบุหลัง รวมจำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกึ่งมีโครงสร้างและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการการสื่อสาร ประกอบด้วย (1) ผู้ส่งสาร จำนวน 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ภาคส่วนราชการ ประกอบด้วยนายอำเภอ พัฒนากรอำเภอ ปลัดประจำตำบล กลุ่มที่ 2 นักปกครองท้องถิ่น ประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลและคณะทีมบริหาร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล และข้าราชการเจ้าหน้าที่ในองค์การบริหารส่วนตำบล กลุ่มที่ 3 นักปกครองท้องที่ ประกอบด้วยกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และกลุ่มที่ 4 ภาคส่วนสนับสนุนหรือประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประกอบด้วยผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนาและประชาชน (2) เนื้อหาสารหลักเกี่ยวกับการแผนงานโครงการ และการดำเนินการตามนโยบายภาครัฐ และรูปแบบกิจกรรมที่ภาคประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน (3) ช่องทางการสื่อสารผ่านสื่อบุคคลในรูปแบบการประชุมชี้แจง การประชุมระดมความคิดและการเผยแพร่แนวทางการพัฒนาผ่านสื่อสังคมออนไลน์เป็นหลัก (4) ผู้รับสารประกอบด้วยประชาชนในตำบล ผู้นำชุมชนนักปกครองท้องถิ่น นักปกครองท้องที่ เครือข่ายการท่องเที่ยว กลุ่มรีสอร์ทชุมชน กลุ่มแปรรูปอาหารทะเล กลุ่มเลี้ยงปลาเก๋าในบ่อดิน กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและป่าชายเลน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (5) ผลจากการสื่อสารทำให้ประชาชนได้ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมสื่อสาร ร่วมรับผลประโยชน์ ประชาชนมีความความรู้ มีความเข้าใจ ทัศนคติที่ดี และการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ และร่วมการพัฒนาชุมชนตามแผนงานที่กำหนด 2) แนวทางการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วม ประกอบด้วย (1) การร่วมวางแผนการสื่อสารในกิจกรรมการจัดทำแผนพัฒนาตำบล การรณรงค์แก้ปัญหาสังคม การส่งเสริมอาชีพ การสร้างรายได้ การพัฒนาการท่องเที่ยว การจัดการขยะในชุมชน ภัยแล้ง การป้องกันไฟป่า และการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2) การร่วมดำเนินการสื่อสารให้สมาชิกในครอบครัวได้รับรู้อย่างทั่วถึงและเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาชุมชนอย่างพร้อมเพียงกัน (3) การร่วมประเมินผลหลังเสร็จสิ้นโครงการเพื่อนำผลพัฒนาการสื่อสารไปใช้ในโอกาสต่อไป
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12351
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Comm-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.64 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons