กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12353
ชื่อเรื่อง: กระบวนการจัดการและปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินงานของกลุ่มออกกำลังกายภายใต้การสนับสนุนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จังหวัดนนทบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The management process and key success factors of the implementation of exercise groups under the supporting of Electricity Generating Authority of Thailand, Nonthaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นิตยา เพ็ญศิรินภา, อาจารย์ที่ปรึกษา
บุญชอบ สระสมทรัพย์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การออกกำลังกาย
การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์
ความสำเร็จทางธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสถานการณ์เกี่ยวกับกลุ่มออกกำลังกาย (2) กระบวนการจัดการของกลุ่มออกกำลังกาย และ (3) ปัญหาอุปสรรค ปัจจัยแห่งความสำเร็จ และสิ่งท้าทายที่จะพัฒนาต่อไปในมุมมองของกลุ่มออกกำลังกายภายใต้การสนับสนุนของการ ไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จังหวัดนนทบุรี รูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษากลุ่มออกกำลังกายที่ได้รับการสนับสนุนจาก กฟผ. ซึ่งมีการดำเนินงานเป็นที่รู้จักและสมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ กลุ่มแอโรบิค และกลุ่มลีลาศ ในชมรมกีฬาเสริมสุขภาพ กฟผ. เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และสนทนากลุ่ม กับผู้บริหาร กฟผ. ผู้บริหาร กรรมการ และผู้ได้รับประไยชน์จากกลุ่มออกกำลังกาย ที่เลือกแบบเจาะจง จำนวน 18 คน มีการตรวจสอบความสอดคล้องของข้อมูล และการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ศึกษาระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึง พฤษภาคม 2552 ผลการศึกษาพบว่า (1) กลุ่มออกกำลังกายก่อกำเนิดจากการรวมตัวของพนักงาน กฟผ. ที่ต้องการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ จุดประสงค์ของกลุ่มในปัจจุบันเพื่อให้พนักงานมีสุขภาพแข็งแรงมีความสุข ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เชื่อมความสามัคคี และเพื่อการแข่งขันกีฬา (2) กระบวนการบริหารจัดการ มีโครงสร้างการบริหารที่มีคณะกรรมการ โดยมีการออกระเบียบและคำสั่งกำหนดบทบาทหน้าที่และบุคคลอย่างชัดเจน มีการใช้กลวิธีจูงใจให้มีสมาชิกมาร่วมกิจกรรมหลายรูปแบบ และปรับกิจกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของสมาชิก (3) ปัญหาอุปสรรคที่พบคืองบประมาณไม่เพียงพอ ส่วนปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ การสนับสนุนที่ดีจากสมาคม กฟผ. ทั้งด้านงบประมาณ บุคลากร อาคารสถานที่ มีกรรมการที่เข้มแข็ง ผู้บริหารให้ความสนใจร่วมกิจกรรมเป็นประธานและกรรมการชมรมต่าง ๆ มีการบริหารจัดการที่ดี สมาชิกใส่ใจในสุขภาพ มีความตั้งใจในการเข้าร่วมกิจกรรม และมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีการเผยแพร่ข่าวสาร โดยใช้สื่อและเทคโนโลยีสำหรับสิ่งที่ต้องการพัฒนาต่อไปในอนาคต คือ การมีศูนย์กีฬา และมีพนักงานและประชาชนมาออกกำลังกายกันมาก ๆ มีการสร้างนักกีพา รวมถึงต้องการหาสมาชิกเพิ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งพนักงานวัยหนุ่มสาว
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12353
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_127623.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.23 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons