Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12364
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorช่อทิพย์ บรมธนรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorรุ่งนิภา จ่างทองth_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.date.accessioned2024-06-28T04:15:27Z-
dc.date.available2024-06-28T04:15:27Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12364en_US
dc.description.abstractการวิจัยเชิงเปรียบเทียบครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) คุณลักษณะประชากรของผู้มารับบริการสุขภาพดีเริ่มที่บ้าน (2) ระดับการให้บริการสุขภาพดีเริ่มที่บ้านตามสภาพที่เป็นจริง และตามความคาคหวังของผู้มารับบริการสุขภาพดีเริ่มที่บ้าน (3) เปรียบเทียบการให้บริการสุขภาพดีเริ่มที่บ้าน ตามสภาพที่เป็นจริง กับความคาดหวังของผู้มารับบริการ และ (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริการสุขภาพดีเริ่มที่บ้าน ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้มารับบริการตามโครงการสุขภาพดีเริ่มที่บ้าน โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช ที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี จำนวน 267 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยมีค่าความเชื่อมั่น = 0.95 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า (1) ผู้มารับบริการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 54 ปี มีสถานภาพสมรสคู่ จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา มีอาชีพเกษตรกรรม รายได้ของครอบครัวเฉลี่ย 9,418.10 บาท/เดือน ได้รับบริการเยี่ยมบ้านเฉลี่ย 2 ครั้ง /ปี (2) ระดับการให้บริการสุขภาพดีเริ่มที่บ้านตามสภาพที่เป็นจริง และตามความคาดหวังของผู้มารับบริการอยู่ระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความเชื่อถือของผู้มารับบริการ ด้านความเชื่อมั่นของผู้มารับบริการด้านความเอาใจใส่ของผู้ให้บริการ มีการให้บริการตามสภาพที่เป็นระดับมาก มีสองด้านคือ ด้านความเป็นรูปธรรมของบริการและด้านการตอบสนองผู้มารับบริการ อยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่ความคาคหวังของผู้มารับบริการอยู่ในระดับมากทุกด้าน (3) ผลการเปรียบเทียบการให้บริการสุขภาพดีเริ่มที่บ้าน ตามสภาพที่เป็นจริงกับตามที่คาดหวัง พบว่า ไม่แตกต่าง แต่เมื่อเปรียบเทียบรายด้าน พบว่า ด้านความเชื่อมั่น ด้านรูปธรรม ด้านเอาใจ ใส่ และด้านการตอบสนอง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แต่ด้านความเชื่อถือไม่แตกต่าง (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบริการสุขภาพดีเริ่มที่บ้าน คือต้องการให้เจ้าหน้าที่มาเยี่ยมบัานสม่ำเสมอและบ่อยครั้งขึ้นและเครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัยเพียงพอ ข้อเสนอแนะจากการวิจัยคือ ผู้ให้บริการควรเพิ่มช่องทางการบริการในการบริการนอกเวลาให้ครอบคลุม มีการเพิ่มจุดบริการเชิงรุกเพื่อให้การดูแลต่อเนื่องมีการวางแผนการเยี่ยมโดยให้ อสม. มีส่วนร่วม และมีควรพัฒนาศักยภาพของแกนนำสุขภาพเพิ่มขึ้นth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช--ความพอใจของผู้ใช้บริการth_TH
dc.subjectบริการการพยาบาลของโรงพยาบาลth_TH
dc.titleเปรียบเทียบการให้บริการสุขภาพดีเริ่มที่บ้านตามสภาพที่เป็นจริงกับตามที่คาดหวังของผู้มารับบริการโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรีth_TH
dc.title.alternativeThe comparison of the existing and expecting home health care of clients at Choaprayayomaraj Hospital Suphanburi Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารสาธารณสุข)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_121968.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.87 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons