กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12364
ชื่อเรื่อง: เปรียบเทียบการให้บริการสุขภาพดีเริ่มที่บ้านตามสภาพที่เป็นจริงกับตามที่คาดหวังของผู้มารับบริการโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The comparison of the existing and expecting home health care of clients at Choaprayayomaraj Hospital Suphanburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
รุ่งนิภา จ่างทอง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --การศึกษาเฉพาะกรณี
โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช--ความพอใจของผู้ใช้บริการ
บริการการพยาบาลของโรงพยาบาล
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงเปรียบเทียบครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) คุณลักษณะประชากรของผู้มารับบริการสุขภาพดีเริ่มที่บ้าน (2) ระดับการให้บริการสุขภาพดีเริ่มที่บ้านตามสภาพที่เป็นจริง และตามความคาคหวังของผู้มารับบริการสุขภาพดีเริ่มที่บ้าน (3) เปรียบเทียบการให้บริการสุขภาพดีเริ่มที่บ้าน ตามสภาพที่เป็นจริง กับความคาดหวังของผู้มารับบริการ และ (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริการสุขภาพดีเริ่มที่บ้าน ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้มารับบริการตามโครงการสุขภาพดีเริ่มที่บ้าน โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช ที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี จำนวน 267 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยมีค่าความเชื่อมั่น = 0.95 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า (1) ผู้มารับบริการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 54 ปี มีสถานภาพสมรสคู่ จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา มีอาชีพเกษตรกรรม รายได้ของครอบครัวเฉลี่ย 9,418.10 บาท/เดือน ได้รับบริการเยี่ยมบ้านเฉลี่ย 2 ครั้ง /ปี (2) ระดับการให้บริการสุขภาพดีเริ่มที่บ้านตามสภาพที่เป็นจริง และตามความคาดหวังของผู้มารับบริการอยู่ระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความเชื่อถือของผู้มารับบริการ ด้านความเชื่อมั่นของผู้มารับบริการด้านความเอาใจใส่ของผู้ให้บริการ มีการให้บริการตามสภาพที่เป็นระดับมาก มีสองด้านคือ ด้านความเป็นรูปธรรมของบริการและด้านการตอบสนองผู้มารับบริการ อยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่ความคาคหวังของผู้มารับบริการอยู่ในระดับมากทุกด้าน (3) ผลการเปรียบเทียบการให้บริการสุขภาพดีเริ่มที่บ้าน ตามสภาพที่เป็นจริงกับตามที่คาดหวัง พบว่า ไม่แตกต่าง แต่เมื่อเปรียบเทียบรายด้าน พบว่า ด้านความเชื่อมั่น ด้านรูปธรรม ด้านเอาใจ ใส่ และด้านการตอบสนอง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แต่ด้านความเชื่อถือไม่แตกต่าง (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบริการสุขภาพดีเริ่มที่บ้าน คือต้องการให้เจ้าหน้าที่มาเยี่ยมบัานสม่ำเสมอและบ่อยครั้งขึ้นและเครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัยเพียงพอ ข้อเสนอแนะจากการวิจัยคือ ผู้ให้บริการควรเพิ่มช่องทางการบริการในการบริการนอกเวลาให้ครอบคลุม มีการเพิ่มจุดบริการเชิงรุกเพื่อให้การดูแลต่อเนื่องมีการวางแผนการเยี่ยมโดยให้ อสม. มีส่วนร่วม และมีควรพัฒนาศักยภาพของแกนนำสุขภาพเพิ่มขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12364
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_121968.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.87 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons