Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12365
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนิตยา เพ็ญศิรินภา, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorนันทวรรณ เมฆาth_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.date.accessioned2024-06-28T04:24:28Z-
dc.date.available2024-06-28T04:24:28Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12365en_US
dc.description.abstractการวิจัยเชิงสำรวจนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคล ประสบการณ์ และความตั้งใจในเรื่องส่งเสริมสุขภาพ (2) พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพและภาวะสุขภาพ และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ศึกษากับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของบุคลากรในสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุขกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นนทบุรี ประชากรที่ศึกษาประกอบด้วย ข้าราชการและลูกจ้างประจำ จำนวน 196 คน เครื่องมือวิจัยเป็น แบบสอบถามมีค่าความเที่ยง 0.7027 เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงมิถุนายน 2549 ได้รับแบบสอบถามสมบูรณ์จำนวน 177 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 90.31 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) บุคลากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุมากกว่า 45 ปี จบการศึกษาปริญญาตรีหรือสูงกว่า เคยเรียนรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพในระบบการศึกษา และมีความตั้งใจในระดับปานกลาง (2) บุคลากรมีพฤติกรรมการส่งสริมสุขภาพด้านการรับประทานอาหาร และด้านการออกกำลังกายอยู่ในระดับพอใช้ ส่วนการตรวจสุขภาพประจำปีอยู่ในระดับดี บุคลากรส่วนใหญ่ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา และมีวิธีการผ่อนคลายความเครียด ประมาณ 1 ใน 2 ของบุคลากรมีโรคประจำตัว โดยโรคประจำตัวที่พบ 3 อันดับแรกคือ ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคภูมิแพ้ และโรคความดันโลหิตสูง ป่วยเป็นวัดในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมาร้อยละ 53.67 ประมาณร้อยละ 60 ที่พบว่ามีดัชนีมวลกายสมส่วน (3) เพศมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การไม่สูบบุหรี่ การไม่ดื่มสุรา และการตรวจสุขภาพประจำปี อายุมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการตรวจสุขภาพประจำปี สถานภาพการสมรสและระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการไม่สูบบุรี่ และการไม่ดื่มสุรา ลักษณะงานมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการไม่ดื่มสุรา ความตั้งใจในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกาย และการตรวจสุขภาพประจำปี ส่วนประสบการณ์การเรียนรู้เรื่องการส่งเสริม สุขภาพไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพทุกด้านผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่าพฤติกรรมที่ควรปรับปรุงคือ การออกกำลังกาย และการดื่มสุราของบุคลากรสนับสนุนห้องปฏิบัติการ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพที่พบ หน่วยงานจึงควรมีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าว เพื่อให้บุคลากรเป็นแบบอย่างที่ดีth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์--บริการส่งเสริมสุขภาพth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการส่งเสริมสุขภาพth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์th_TH
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของบุคลากรในสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุขกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นนทบุรีth_TH
dc.title.alternativeFactors related to health promoting behaviors of personnel in National Institute of health in Department of Medical Sciences, Nonthaburi Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารสาธารณสุข)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_122407.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.63 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons