กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12367
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors related to the participation of village health volunteers in the implementation of cervical cancer screening, Nayong District, Trang Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมโภช รติโอฬาร, อาจารย์ที่ปรึกษา
ยุพดี อานุภาพเสถียร
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --การศึกษาเฉพาะกรณี
อาสาสมัครสาธารณสุข--การทำงานเป็นทีม
อาสาสมัครสาธารณสุข--ไทย--ตรัง
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยการปฏิบัติงาน ปัจจัยสนับสนุนทางสังคม และการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดำเนินงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยการปฏิบัติงาน ปัจจัยสนับสนุนทางสังคม กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมคลูกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง จำนวน 729 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 259 คน ได้จากวิธีการคำนวณ โดยใช้สูตรของยามาเน่ โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีความเที่ยง 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสมพันธ์เพียร์สัน และการทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัย (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 45.6 ปี ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมากที่สุด มีสถานภาพสมรสคู่มากที่สุด มีการศึกษาระดับประถมศึกษามากที่สุด ส่วนปัจจัยการปฏิบัติงาน พบว่า ส่วนใหญ่มีตำแหน่งเป็นสมาชิกอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ระยะเวลาในการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเฉลี่ย 11.09 ปี เคยประชุมฝึกอบรม มีความรู้เกี่ยวกับการตรวงคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอยู่ในระดับสูง สำหรับปัจจัยสนับสนุนทางสังคม พบว่า ส่วนใหญ่คนในครอบครัวที่สนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมากที่สุดคือ สามีหรือภรรยา โดยรูปแบบการสนับสนุนมากที่สุด คือ การให้กำลังใจ ระดับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยรวมอยู่ในระดับสูง (2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง และรูปแบบการสนับสนุนของคนในครอบครัว
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12367
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_123859.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.12 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons