Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1236
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมเกียรติ วัฒนาพงษากุลth_TH
dc.contributor.authorถิรฉัตร คงจันทร์, 2527-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-08-29T06:07:58Z-
dc.date.available2022-08-29T06:07:58Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1236en_US
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ (1) ลักษณะภาษาของเพลงกล่อมเด็กภาคใต้และ (2) สารัตถะในเพลงกล่อมเด็กภาคใต้การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบวิเคราะห์เนื้อหาเป็นเครื่องมือในการวิจัย โดยศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากเพลงกล่อมเด็กภาคใต้ จำนวน 176 บทเพลง และนำเสนอผลการวิจัยโดยพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ลักษณะภาษาของเพลงกล่อมเด็กภาคใต้มีดังนี้ (ก) ด้านฉันทลักษณ์ เพลงกล่อมเด็กภาคใต้ไม่เคร่งครัดในข้อบังคับทางฉันทลักษณ์ เพลงบทหนึ่งมี 8 วรรค แต่ละวรรคมี 4 – 5 คำ หรือ 6 – 8 คำ มีการส่งสัมผัสระหว่างวรรค และมีการซ้ำความระหว่างวรรค (ข) ด้านกลวิธีการใช้คำขึ้นต้น พบการใช้คำขึ้นต้น 4 ลักษณะ คือ การใช้คำขึ้นต้นที่สัมพันธ์กับเนื้อหา การใช้คำขึ้นต้นที่ไม่สัมพันธ์กับเนื้อหา การใช้คำขึ้นต้น "คือน้องเหอ" หรือ "น้องนอนเหอ" และการใช้คำเรียกสิ่งต่าง ๆ เป็นคำขึ้นต้น เช่น ชื่อพืช ชื่อสัตว์ คำเรียกบุคคลหรือเครือญาติ หรือ คำเรียกปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ (ค) กลวิธีการใช้คำ พบการใช้คำซ้ำ คำซ้อน การหลากคำ และการใช้คำภาษาไทยถิ่นใต้ในเพลงกล่อมเด็กภาคใต้ (ง) การใช้โวหารภาพพจน์ พบการใช้โวหารภาพพจน์ 5 ชนิด คือ อุปมา อุป-ลักษณ์ บุคลาธิษฐานสัทพจน์ และอติพจน์ (2) สารัตถะที่ปรากฏในเพลงกล่อมเด็กภาคใต้ มี 4 ด้าน ได้แก่ (ก) การแสดงความรักความผูกพันระหว่างแม่หรือผู้ดูแลกับเด็ก (ข) การอบรมสั่งสอน ที่สื่อถึงการอบรม ว่ากล่าว หรือตักเตือนเด็ก (ค) การวิพากษ์บุคคลและสังคม เพลงกล่อมเด็กมีสารัตถะวิพากษ์พฤติกรรมของชายและหญิง ทั้งในด้านการเลือกคู่ครอง การประพฤติตนให้เหมาะสมตามบทบาทในสังคม และวิพากษ์สถาบันทางสังคม ได้แก่ สถาบันครอบครัว สถาบันทางศาสนา และสถาบันการปกครอง และ (ง) การสะท้อนภาพสังคมเพลงกล่อมเด็กภาคใต้สะท้อนให้เห็นความเชื่อ ศาสนา ประเพณี พิธีกรรม และวิถีชีวิตของคนปักษ์ใต้th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2013.399en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectเพลงกล่อมเด็ก--ไทย (ภาคใต้)th_TH
dc.titleลักษณะภาษาและสารัตถะในเพลงกล่อมเด็กภาคใต้th_TH
dc.title.alternativeLanguage characteristics and contents in the Southern Lullabiesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.identifier.DOI10.14457/STOU.the.2013.399-
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศิลปศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study and analyze (1) the language characteristics and (2) the content of lullabies from southern Thailand. This study was qualitative research. A content analysis form was used as the data collection tool to analyze 176 songs used as lullabies in southern Thailand. The results were presented through descriptive analysis. The results showed that (1) The lullabies had the following language characteristics: (a) The prosody was not strictly rhyming. Each stanza consisted of 8 lines, and each line had either 4 – 5 or 6 – 8 words. There were sometimes rhymes between the lines and redundant phrases between the lines. (b) There were 4 types of initial words used to start the lullabies: initial words that were related to the song’s content, initial words that did not parallel the content, initial words “keu nong heur” or “nong non heur”, and pronouns or nouns that were invoked such as the names of plants, names of animals, names of people or family members, or names of natural phenomena. (c) Wording strategies were found in the forms of repetition, alliteration, the variation of words, and using words in the Southern dialect. (d) Rhetorical analysis showed that simile, metaphor, personification, onomatopoeia and hyperbole were commonly employed. (2) The core essences of the content of the southern lullabies can generally be divided into 4 main categories: (a)expressions of love and closeness between the mother or caretaker and the children, (b) lessons, morals or instructions for cultivating or warning the children, (c) personal or social critiques, including criticism of male and female behavior, courting practices, or people who do not fulfill their appropriate roles in society; as well as critiques of the institutions of the family, religion and governing institutions, (d) reflections of the society, such as content about the religious beliefs, traditions, ceremonies and ways of life of the people of southern Thailand.en_US
dc.contributor.coadvisorปรียา หิรัญประดิษฐ์th_TH
dc.contributor.coadvisorมนตรี มีเนียมth_TH
Appears in Collections:Arts-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext (12).pdfเอกสารฉบับเต็ม20.66 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons