กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1236
ชื่อเรื่อง: ลักษณะภาษาและสารัตถะในเพลงกล่อมเด็กภาคใต้
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Language characteristics and contents in the Southern Lullabies
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมเกียรติ วัฒนาพงษากุล
ถิรฉัตร คงจันทร์, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ปรียา หิรัญประดิษฐ์
มนตรี มีเนียม
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา--วิทยานิพนธ์
เพลงกล่อมเด็ก--ไทย (ภาคใต้)
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ (1) ลักษณะภาษาของเพลงกล่อมเด็กภาคใต้และ (2) สารัตถะในเพลงกล่อมเด็กภาคใต้การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบวิเคราะห์เนื้อหาเป็นเครื่องมือในการวิจัย โดยศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากเพลงกล่อมเด็กภาคใต้ จำนวน 176 บทเพลง และนำเสนอผลการวิจัยโดยพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ลักษณะภาษาของเพลงกล่อมเด็กภาคใต้มีดังนี้ (ก) ด้านฉันทลักษณ์ เพลงกล่อมเด็กภาคใต้ไม่เคร่งครัดในข้อบังคับทางฉันทลักษณ์ เพลงบทหนึ่งมี 8 วรรค แต่ละวรรคมี 4 – 5 คำ หรือ 6 – 8 คำ มีการส่งสัมผัสระหว่างวรรค และมีการซ้ำความระหว่างวรรค (ข) ด้านกลวิธีการใช้คำขึ้นต้น พบการใช้คำขึ้นต้น 4 ลักษณะ คือ การใช้คำขึ้นต้นที่สัมพันธ์กับเนื้อหา การใช้คำขึ้นต้นที่ไม่สัมพันธ์กับเนื้อหา การใช้คำขึ้นต้น "คือน้องเหอ" หรือ "น้องนอนเหอ" และการใช้คำเรียกสิ่งต่าง ๆ เป็นคำขึ้นต้น เช่น ชื่อพืช ชื่อสัตว์ คำเรียกบุคคลหรือเครือญาติ หรือ คำเรียกปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ (ค) กลวิธีการใช้คำ พบการใช้คำซ้ำ คำซ้อน การหลากคำ และการใช้คำภาษาไทยถิ่นใต้ในเพลงกล่อมเด็กภาคใต้ (ง) การใช้โวหารภาพพจน์ พบการใช้โวหารภาพพจน์ 5 ชนิด คือ อุปมา อุป-ลักษณ์ บุคลาธิษฐานสัทพจน์ และอติพจน์ (2) สารัตถะที่ปรากฏในเพลงกล่อมเด็กภาคใต้ มี 4 ด้าน ได้แก่ (ก) การแสดงความรักความผูกพันระหว่างแม่หรือผู้ดูแลกับเด็ก (ข) การอบรมสั่งสอน ที่สื่อถึงการอบรม ว่ากล่าว หรือตักเตือนเด็ก (ค) การวิพากษ์บุคคลและสังคม เพลงกล่อมเด็กมีสารัตถะวิพากษ์พฤติกรรมของชายและหญิง ทั้งในด้านการเลือกคู่ครอง การประพฤติตนให้เหมาะสมตามบทบาทในสังคม และวิพากษ์สถาบันทางสังคม ได้แก่ สถาบันครอบครัว สถาบันทางศาสนา และสถาบันการปกครอง และ (ง) การสะท้อนภาพสังคมเพลงกล่อมเด็กภาคใต้สะท้อนให้เห็นความเชื่อ ศาสนา ประเพณี พิธีกรรม และวิถีชีวิตของคนปักษ์ใต้
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1236
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext (12).pdfเอกสารฉบับเต็ม20.66 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons