Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1236
Title: ลักษณะภาษาและสารัตถะในเพลงกล่อมเด็กภาคใต้
Other Titles: Language characteristics and contents in the Southern Lullabies
Authors: สมเกียรติ วัฒนาพงษากุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปรียา หิรัญประดิษฐ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
มนตรี มีเนียม, อาจารย์ที่ปรึกษา
ถิรฉัตร คงจันทร์, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา --วิทยานิพนธ์
เพลงกล่อมเด็ก--ไทย (ภาคใต้)
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ (1) ลักษณะภาษาของเพลงกล่อมเด็กภาคใต้และ (2) สารัตถะในเพลงกล่อมเด็กภาคใต้การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบวิเคราะห์เนื้อหาเป็นเครื่องมือในการวิจัย โดย ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากเพลงกล่อมเด็กภาคใต้ จำนวน 176 บทเพลง และนำเสนอผลการวิจัยโดย พรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ลักษณะภาษาของเพลงกล่อมเด็กภาคใต้มีดังนี้ (ก) ด้านฉันทลักษณ์ เพลงกล่อมเด็กภาคใต้ไม่เคร่งครัดในข้อบังคับทางฉันทลักษณ์ เพลงบทหนึ่งมี 8 วรรค แต่ละวรรคมี 4 – 5 คำ หรือ 6 – 8 คำ มีการส่งสัมผัสระหว่างวรรค และมีการซ้ำความระหว่างวรรค (ข) ด้านกลวิธีการใช้คำ ขึ้นต้น พบการใช้คำขึ้นต้น 4 ลักษณะ คือ การใช้คำขึ้นต้นที่สัมพันธ์กับเนื้อหา การใช้คำขึ้นต้นที่ไม่ สัมพันธ์กับเนื้อหา การใช้คำขึ้นต้น "คือน้องเหอ" หรือ "น้องนอนเหอ" และการใช้คำเรียกสิ่งต่าง ๆ เป็นคำ ขึ้นต้น เช่น ชื่อพืช ชื่อสัตว์ คำเรียกบุคคลหรือเครือญาติ หรือ คำเรียกปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ (ค) กลวิธีการใช้คำ พบการใช้คำซ้ำ คำซ้อน การหลากคำ และการใช้คำภาษาไทยถิ่นใต้ในเพลงกล่อมเด็ก ภาคใต้ (ง) การใช้โวหารภาพพจน์ พบการใช้โวหารภาพพจน์ 5 ชนิด คือ อุปมา อุป-ลักษณ์ บุคลาธิษฐาน สัทพจน์ และอติพจน์ (2) สารัตถะที่ปรากฏในเพลงกล่อมเด็กภาคใต้ มี 4 ด้าน ได้แก่ (ก) การแสดงความรัก ความผูกพันระหว่างแม่หรือผู้ดูแลกับเด็ก (ข) การอบรมสั่งสอน ที่สื่อถึงการอบรม ว่ากล่าว หรือตักเตือน เด็ก (ค) การวิพากษ์บุคคลและสังคม เพลงกล่อมเด็กมีสารัตถะวิพากษ์พฤติกรรมของชายและหญิง ทั้งใน ด้านการเลือกคู่ครอง การประพฤติตนให้เหมาะสมตามบทบาทในสังคม และวิพากษ์สถาบันทางสังคม ได้แก่ สถาบันครอบครัว สถาบันทางศาสนา และสถาบันการปกครอง และ (ง) การสะท้อนภาพสังคม เพลงกล่อมเด็กภาคใต้สะท้อนให้เห็นความเชื่อ ศาสนา ประเพณี พิธีกรรม และวิถีชีวิตของคนปักษ์ใต้
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1236
Appears in Collections:Arts-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext (12).pdfเอกสารฉบับเต็ม20.66 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons