Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12370
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorช่อทิพย์ บรมธนรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorเรวดี โตศักดิ์th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.date.accessioned2024-06-28T07:11:59Z-
dc.date.available2024-06-28T07:11:59Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12370en_US
dc.description.abstractแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 10 กระทรวงสาธารณสุขได้บูรณาการงานด้านสุขภาพสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามนโยบายรัฐบาล โดยการส่งเสริมให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้าน (อสม.) เข้ามามีส่วนร่วมเชิงรุกอย่างเป็นระบบ รวมทั้งส่งเสริมบทบาท อสม. ทั่วประเทศให้ปฏิบัติงานเชิงรุกในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่นและชุมชน การดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาลและการเฝ้าระวังโรคในชุมชน การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) คุณลักษณะส่วนบุคคล การรับรู้บทบาทหน้าที่ และแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน 2) การปฏิบัติงานพัฒนาสุขภาพชุมชน และ 3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานพัฒนาสุขภาพชุมชน ของ อสม. ในจังหวัดนครนายก ภายใต้โครงการส่งเสริมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเชิงรุก ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ อาสามัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในจังหวัดนครนายก จานวน 3,944 คน คำนวณขนาดตัวอย่างตามสูตร Yamane ได้จำนวนตัวอย่าง 364 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามได้แบบสอบถามกลับมา ร้อยละ 98.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคว์สแควร์ และการทดสอบฟิชเชอร์แอคแซค ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 85.3 มีอายุเฉลี่ย 51 ปี มีอายุระหว่าง 50-59 ปี สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 60.3 จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 54.7 ร้อยละ 42.2 มีอาชีพรับจ้าง มีรายได้ของครอบครัว 2,500 – 5,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 39.7 มีระยะเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ของ อสม. มากกว่า 30 ปี ร้อยละ 41.9 การรับรู้บทบาทหน้าที่ และแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับมาก 2) การปฏิบัติงานพัฒนาสุขภาพชุมชน อยู่ในระดับดี และ 3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานพัฒนาสุขภาพชุมชนของ อสม. ในจังหวัดนครนายก พบว่า คุณลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้ของครอบครัว ระยะเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ของ อสม. แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และการรับรู้บทบาทหน้าที่ของ อสม. มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานพัฒนาสุขภาพชุมชน ของ อสม. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectอาสาสมัครสาธารณสุข--ไทย--นครนายกth_TH
dc.subjectอนามัยชุมชนth_TH
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานพัฒนาสุขภาพชุมชน ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดนครนายก ภายใต้โครงการส่งเสริมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเชิงรุกth_TH
dc.title.alternativeFactors associated with health community development performance of village health volunteers in Nakhommayok Province under the proactive promotion of village health volunteers projecten_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารสาธารณสุข)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_125350.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.76 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons