Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12371
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรางคณา ผลประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorบุศณี มุจรินทร์th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.date.accessioned2024-06-28T07:21:38Z-
dc.date.available2024-06-28T07:21:38Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12371en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ประเมินผลการดำเนินงานตามมาตรฐานในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในจังหวัดอำนาจเจริญ (2) ปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยสนับสนุนการดำเนินงาน ปัจจัยด้านภาระงานและปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆกับการดำเนินงานมาตรฐานในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในจังหวัดอำนาจเจริญ และ 4) ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานมาตรฐานในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในจังหวัดอำนาจเจริญ ประชากรที่ศึกษาคือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบงานในด้านการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในระดับตำบลทุกคน จำนวน 84 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.95 โดยในส่วนของผลการประเมินการดำเนินงานด้านการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในจังหวัดอำนาจเจริญ ใช้ข้อมูลทุติยภูมิ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคร์สแควร์ การทดสอบฟิชเชอร์และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ผลการประเมินการดำเนินงานตามมาตรฐานในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในจังหวัดอำนาจเจริญอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 57.3 (2) เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบงานเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 37.9 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีร้อยละ 81.3 โดยมีอายุราชการเฉลี่ย 15.6 ปี ปัจัยสนับสนุนการทำงานทางด้านทรัพยากรอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนปัจจัยสนับสนุนการดำเนินงานทางด้านวิชาการอยู่ในระดับสูง ปัจจัยด้านภาระงานพบว่า เจ้าหน้าที่มีประชากรในเขตรับผิดชอบเฉลี่ย 4,875.8 คน มีหมู่บ้านที่ดูแลเฉลี่ย 7.5 หมู่บ้าน การตั้งบ้านเรือนส่วนใหญ่มีทั้งรวมกลุ่มและกระจัดกระจาย ในขณะที่ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมพบว่ องค์กรและบุคคลส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือในระดับปานกลาง ยกเว้นอาสาสมัครสาธารณสุขให้ความร่วมมือในระดับสูง (3) ปัจจัยด้านภาระงาน คือจำนวนประชากรในเขตรับผิดชอบมีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานตามมาตรฐานในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (4) ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานด้านการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ได้แก่ บุคลากรไม่เพียงพอ งบประมาณล่าช้าและไม่เพียงพอ วัสดุอุปกรณ์ไม่เพียงพอและชำรุดบ่อย และบุคคล/องค์กรอื่นๆ ไม่ให้ความสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ข้อเสนอแนะ คือ ควรเพิ่มบุคลากรที่รับผิดชอบ การจัดสรรภาระงานให้เหมาะสม การจัดงบประมาณให้เพียงพอและสอดคล้องกับสถานการณ์ และการกระตุ้นให้บุคคล/องค์กรอื่นให้เห็นความสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectไข้เลือดออก--การป้องกันและควบคุม--ไทย--อำนาจเจริญth_TH
dc.titleการประเมินผลการดำเนินงานตามมาตรฐานการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของจังหวัดอำนาจเจริญth_TH
dc.title.alternativeManagement evaluation based on standard of dengue in hemorrhagic fever prevention and control at Amnatcharoen Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารสาธารณสุข)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_127365.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.1 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons