Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12371
Title: | การประเมินผลการดำเนินงานตามมาตรฐานการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของจังหวัดอำนาจเจริญ |
Other Titles: | Management evaluation based on standard of dengue in hemorrhagic fever prevention and control at Amnatcharoen Province |
Authors: | วรางคณา ผลประเสริฐ บุศณี มุจรินทร์, 2515- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี ไข้เลือดออก--การป้องกันและควบคุม--ไทย--อำนาจเจริญ |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ประเมินผลการดำเนินงานตามมาตรฐานในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในจังหวัดอำนาจเจริญ (2) ปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยสนับสนุนการดำเนินงาน ปัจจัยด้านภาระงานและปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆกับการดำเนินงานมาตรฐานในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในจังหวัดอำนาจเจริญ และ 4) ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานมาตรฐานในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในจังหวัดอำนาจเจริญ ประชากรที่ศึกษาคือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบงานในด้านการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในระดับตำบลทุกคน จำนวน 84 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.95 โดยในส่วนของผลการประเมินการดำเนินงานด้านการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในจังหวัดอำนาจเจริญ ใช้ข้อมูลทุติยภูมิ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคร์สแควร์ การทดสอบฟิชเชอร์และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ผลการประเมินการดำเนินงานตามมาตรฐานในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในจังหวัดอำนาจเจริญอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 57.3 (2) เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบงานเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 37.9 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีร้อยละ 81.3 โดยมีอายุราชการเฉลี่ย 15.6 ปี ปัจัยสนับสนุนการทำงานทางด้านทรัพยากรอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนปัจจัยสนับสนุนการดำเนินงานทางด้านวิชาการอยู่ในระดับสูง ปัจจัยด้านภาระงานพบว่า เจ้าหน้าที่มีประชากรในเขตรับผิดชอบเฉลี่ย 4,875.8 คน มีหมู่บ้านที่ดูแลเฉลี่ย 7.5 หมู่บ้าน การตั้งบ้านเรือนส่วนใหญ่มีทั้งรวมกลุ่มและกระจัดกระจาย ในขณะที่ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมพบว่ องค์กรและบุคคลส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือในระดับปานกลาง ยกเว้นอาสาสมัครสาธารณสุขให้ความร่วมมือในระดับสูง (3) ปัจจัยด้านภาระงาน คือจำนวนประชากรในเขตรับผิดชอบมีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานตามมาตรฐานในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (4) ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานด้านการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ได้แก่ บุคลากรไม่เพียงพอ งบประมาณล่าช้าและไม่เพียงพอ วัสดุอุปกรณ์ไม่เพียงพอและชำรุดบ่อย และบุคคล/องค์กรอื่นๆ ไม่ให้ความสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ข้อเสนอแนะ คือ ควรเพิ่มบุคลากรที่รับผิดชอบ การจัดสรรภาระงานให้เหมาะสม การจัดงบประมาณให้เพียงพอและสอดคล้องกับสถานการณ์ และการกระตุ้นให้บุคคล/องค์กรอื่นให้เห็นความสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12371 |
Appears in Collections: | Health-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_127365.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License