กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12377
ชื่อเรื่อง: | การประเมินผลการดำเนินงานระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Evaluation of long-term health care system operations for dependent older persons in Mueang District, Nakhon Ratchasima Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์ มนัสศรา อัจฉริยะเมธากุล, 2518- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี ผู้สูงอายุ--การดูแลระยะยาว การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยประเมินผลในครั้งนี้ใช้แบบจำลองซิปป์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพแวดล้อม ได้แก่ นโยบายการดำเนินงาน (2) ปัจจัยนำเข้าได้แก่ ความเหมาะสมเพียงพอของทรัพยากร บุคลากรงบประมาณ เครื่องมือ อุปกรณ์และการจัดการระบบดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข (3) กระบวนการ ได้แก่ การวางแผนดูแลรายบุคคลระยะยาวด้านสาธารณสุข การจัดบริการดูแลโดยบุคลากรสาธารถสุข การจัดบริการดูแลที่บ้าน/ชุมชน การจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ การประเมินสภาพผู้สูงอายุการติดตามประเมินผล (4) ผลผลิต ได้แก่ ความครอบคลุมการได้รับบริการตามชุดสิทธิประโยชน์ และความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อการดำเนินงานระบบดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และ (3) ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะการดำเนินงานระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 4 กลุ่ม ได้แก่ (1) คณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงจำนวน 25 คนเลือกโดยวิธีเจาะจงตำบลละ 1 คน (2) ผู้จัดการการดูแลระยะยาวด้านสารารณสุขจำนวน 25 คน เลือกโดยวิธีเจาะจง ตำบลละ 1 คน (3) ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 25 คน เลือกโดยวิธีเจาะจง ตำบลละ 1 คน และ (4) ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตอำเภอเมืองนครราชสีมา จำนวน 170 คน โดยศึกษาทุกหน่วยประชากร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามความคิดเห็น และแบบวัดความพึงพอใจ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 และ 0.84 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า (1) สภาพแวดล้อมมีนโยบายการดำเนินงานระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขและให้ความสำคัญต่อการดูแลผู้สูงอายุ ในภาพรวมอยู่ระดับมาก (2) ปัจจัยนำเข้าพบว่า มีทรัพยากร บุคลากร งบประมาณ เครื่องมือ อุปกรณ์ และการบริทารจัดกรระบบดูแลระยะยาวด้านสาธารณ สุขมีความเหมาะสมและเพียงพอมีบุคคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจและมีความสามารถเอื้อต่อการจัดระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง (3) กระบวนการมีการวางแผนดูแลรายบุคคลระยะยาวด้านสาธารณสุข การจัดบริการดูแลโดยบุคลากรสาธารณสุข การจัดบริการดูแลที่บ้าน/ชุมชน การจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์การประเมินสภาพผู้สูงอายุ การติดตามประเมินผลการดำเนินการคัดกรองและประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ การวางแผนการดูแลรายบุคคลตามชุดสิทธิประโยชน์โดยทีมผู้จัดการการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ทีมหมอครอบครัว และผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ ในภาพรวมอยู่ระดับมาก (4) ผลผลิต พบว่า ความครอบคลุมการได้รับบริการตามชุดสิทธิประโยชน์และความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง และ (5) ปัญหาและอุปสรรค พบว่า บุคลากรผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ ผู้จัดการการดูแลระยาวด้านสาธารณสุข ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง มีจำนวนไม่เพียงพอขาดความรู้ ทักษะในการปฏิบัติงานและมีภาระงานมาก ขาดการมีส่วนร่วมของครอบครัวและ ชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุ วัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ยังไม่เพียงพอกับความต้องการ ข้อเสนอแนะ ผู้บริหารควรเพิ่มจำนวนบุคลากรผู้ปฏิบัติงานตามสัดส่วนในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานจัดฝึกอบรมฟื้นฟูความรู้และทักษะในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงอย่างต่อเนื่อง จัดตั้งกองทุนผู้สูงอายุระดับทั้องถิ่นทุกพื้นที่เพื่อผลักดันให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุและสนับสนุนให้มีการจัดตั้งศูนย์กายอุปกรณ์ระดับตำบล/อำเภอ เพื่อรองรับภาวะพึ่งพิงที่มีความจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12377 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT_163391.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 22.71 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License