กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1237
ชื่อเรื่อง: ประเพณีแห่นางดาน : กรณีศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Nang Dan Parade Tradition : a case study of Nakhon Si Tammarat Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จิตรา วีรบุรีนนท์
สุพัตรา สำอางศรี, 2502-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สุดจิต เจนนพกาญจน์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา--วิทยานิพนธ์
ประเพณีแห่นางดาน
นครศรีธรรมราช--ความเป็นอยู่และประเพณี
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของประเพณีแห่นางดาน จังหวัดนครศรีธรรมราช (2) ความเชื่อและพิธีกรรมประเพณีแห่นางดานในอดีตและปัจจุบัน (3) แนวทางในการอนุรักษ์ประเพณีแห่นางดานของจังหวัดนครศรีธรรมราชวิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งเป็นการสัมภาษณ์เจาะลึก กลุ่มตัวอย่างได้แก่ พราหมณ์ จำนวน 5 คน นักวิชาการ จำนวน 2 คน ผู้บริหารเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จำนวน 2 คน ผู้อำนวยการสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จำนวน 1 คน ผู้สาธิตประเพณีแห่นางดาน จำนวน 15 คน ผู้ร่วมพิธีกรรม จำนวน 3 คน ผู้รู้ จำนวน 2 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์การสังเกต และการสำรวจชุมชน การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์เชิงพรรณนาผลการวิจัยพบว่า (1) ประเพณีแห่นางดานเกิดขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 9 โดยชาวอินเดียได้เข้ามาค้าขายและเผยแพร่ศาสนาพราหมณ์ในเมืองนครศรีธรรมราช และนำพิธีบูชาพระอิศวร พระนารายณ์ หลังจากนั้นพัฒนาการจนเป็นพระราชพิธี ผู้ร่วมพิธีประกอบด้วยกษัตริย์ พราหมณ์ พ่อค้าและประชาชน ประเพณีนี้ประกอบด้วยพิธีกรรมสำคัญเช่น พิธีแห่นางดาน พิธีโล้ชิงช้า พิธีเปิดประตูสวรรค์เชิญพระอิศวรพระนารายณ์เสด็จ เป็นต้น ต่อมาประเพณีนี้ได้เผยแพร่ไปถึงกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์โดยพราหมณ์จากนครศรีธรรมราชไปทำพิธีแต่เรียกว่า พิธีตรียัมปวาย (2) ความเชื่อและพิธีกรรมของประเพณีในอดีตและปัจจุบันพบว่าแตกต่างกัน ในอดีตทำพิธีแห่นางดานเพราะเชื่อว่าเป็นพิธีวันขึ้นปี ใหม่ของพราหมณ์และขอพรจากพระอิศวรให้พืชพันธุ์อุดมสมบูรณ์และทำพิธีโล้ชิงช้าเพราะเชื่อว่าเป็นวิธีการทดลองเพื่อพิสูจน์การเปลี่ยนแปลงและความมั่นคงของโลก แต่ในปัจจุบันทำพิธีแตกต่างไปจากประเพณีเดิมเป็นเพียงพิธีสาธิตประเพณีแห่นางดานและมีความเชื่อว่าควรจัดร่วมกับประเพณีวันสงกรานต์จะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวและนำรายได้เข้าสู่จังหวัด (3) แนวทางในการอนุรักษ์ประเพณีแห่นางดานของจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ การส่งเสริมการค้นคว้าวิจัย การอนุรักษ์ โดยการปลุกจิตสำนึกให้คนในท้องถิ่นตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของประเพณี หน่วยงานภาครัฐและเอกชนควรให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนร่วมจัดงานประเพณี และปรับปรุงประเพณีแห่นางดานให้เหมาะสมกับเหตุการณ์บ้านเมืองปัจจุบันและเกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน รวมทั้งการนำผลการวิจัยนี้ไปเรียบเรียงเป็นหนังสืออ่านประกอบการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรท้องถิ่น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1237
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext (13).pdfเอกสารฉบับเต็ม33.99 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons