Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12382
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุดาว เลิศวิสุทธิไพบูลย์th_TH
dc.contributor.authorรักษฎาภรณ์ โมกขะเวส, 2522-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.date.accessioned2024-07-01T03:53:32Z-
dc.date.available2024-07-01T03:53:32Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12382en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) สำรวจความปลอดภัยในโรงพยาบาลชุมชนขนาด 90 เตียง แห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ (2) ศึกษาปัญหาการเจ็บป่วยจากการทำงานของบุคลากรทางการพยาบาล (3) ศึกษาปัญหาการได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุในการทำงานของบุคลากรทางการพยาบาล การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยการสำรวจความปลอดภัยในพื้นที่ทำการของหน่วยงานทางการพยาบาลจำนวน 9 หน่วยงาน การเลือกพื้นที่เป็นแบบเจาะจงพื้นที่ของหน่วยงานกลุ่มการพยาบาลทั้งหมด กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรทางการพยาบาล โรงพยาบาลชุมชนขนาด 90 เตียง แห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 152 คน การเลือกตัวอย่างเป็นแบบเจาะจงโดยใช้ประชากรเป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสำรวจความปลอดภัย และแบบสอบถามปัญหาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาปัญหาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงพยาบาลชุมชนขนาด 9 เตียง พบว่า (1) หน่วยงานที่มีสภาพการทำงานและการกระทำที่ไม่ปลอดภัยมากที่สุด ได้แก่ งานผู้ป่วยหนัก รองลงมา ได้แก่ งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน และอันดับที่สาม ได้แก่ งานผ่าตัด ปัญหาส่วนใหญ่ ได้แก่ ระบบไฟฟ้าไม่ปลอดภัย บุคลากรละเลยการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อ และการยศาสตร์ไม่เหมาะสม (2) บุคลากรทางการพยาบาล เกิดการเจ็บป่วยจากการทำงาน ได้แก่ ปวดเอวหรือปวดหลัง มากที่สุดเป็นอันดับแรก ร้อยละ 72.4 รองลงมา ได้แก่ อาการปวดข้อหรือกล้ามเนื้อ ร้อยละ 66.4 และ อันดับ 3 การเกิดความเครียด หรือวิตกกังวล ร้อยละ 64.5 (3) การได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุในการทำงานพบมากที่สุดเป็นอันดับแรก ได้แก่ เข็มหรือของแหลมทิ่มตำ ร้อยละ 36.8 ถูกของมีคมบาด ร้อยละ 25.7 และการได้รับรังสีระหว่างปฏิบัติงาน ร้อยละ 22.4 ผลการศึกษานี้สามารถนำไปวางแผนการพัฒนา และดำเนินงาน ด้านการป้องกันปัญหา และการเฝ้าระวังปัญหาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของโรงพยาบาลชุมชนขนาด 90 เตียง ให้เกิดความปลอดภัยต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สินของทั้งบุคลากรในองค์กรต่อไปในอนาคตได้th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceReformatted digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectโรงพยาบาลชุมชน--ไทย--สมุทรปราการth_TH
dc.subjectอาชีวอนามัย--ไทย--สมุทรปราการth_TH
dc.subjectโรงพยาบาลชุมชน--มาตรการความปลอดภัยth_TH
dc.titleปัญหาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงพยาบาลชุมชนขนาด 90 เตียงจังหวัดสมุทรปราการth_TH
dc.title.alternativeOccupational health and safety problem in a community hospital 90 beds in Samut Prakarn Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_125693.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.38 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons