กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12382
ชื่อเรื่อง: ปัญหาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงพยาบาลชุมชนขนาด 90 เตียงจังหวัดสมุทรปราการ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Occupational health and safety problem in a community hospital 90 beds in Samut Prakarn Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุดาว เลิศวิสุทธิไพบูลย์
รักษฎาภรณ์ โมกขะเวส, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
โรงพยาบาลชุมชน--ไทย--สมุทรปราการ
อาชีวอนามัย--ไทย--สมุทรปราการ
โรงพยาบาลชุมชน--มาตรการความปลอดภัย
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) สำรวจความปลอดภัยในโรงพยาบาลชุมชนขนาด 90 เตียง แห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ (2) ศึกษาปัญหาการเจ็บป่วยจากการทำงานของบุคลากรทางการพยาบาล (3) ศึกษาปัญหาการได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุในการทำงานของบุคลากรทางการพยาบาล การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยการสำรวจความปลอดภัยในพื้นที่ทำการของหน่วยงานทางการพยาบาลจำนวน 9 หน่วยงาน การเลือกพื้นที่เป็นแบบเจาะจงพื้นที่ของหน่วยงานกลุ่มการพยาบาลทั้งหมด กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรทางการพยาบาล โรงพยาบาลชุมชนขนาด 90 เตียง แห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 152 คน การเลือกตัวอย่างเป็นแบบเจาะจงโดยใช้ประชากรเป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสำรวจความปลอดภัย และแบบสอบถามปัญหาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาปัญหาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงพยาบาลชุมชนขนาด 9 เตียง พบว่า (1) หน่วยงานที่มีสภาพการทำงานและการกระทำที่ไม่ปลอดภัยมากที่สุด ได้แก่ งานผู้ป่วยหนัก รองลงมา ได้แก่ งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน และอันดับที่สาม ได้แก่ งานผ่าตัด ปัญหาส่วนใหญ่ ได้แก่ ระบบไฟฟ้าไม่ปลอดภัย บุคลากรละเลยการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อ และการยศาสตร์ไม่เหมาะสม (2) บุคลากรทางการพยาบาล เกิดการเจ็บป่วยจากการทำงาน ได้แก่ ปวดเอวหรือปวดหลัง มากที่สุดเป็นอันดับแรก ร้อยละ 72.4 รองลงมา ได้แก่ อาการปวดข้อหรือกล้ามเนื้อ ร้อยละ 66.4 และ อันดับ 3 การเกิดความเครียด หรือวิตกกังวล ร้อยละ 64.5 (3) การได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุในการทำงานพบมากที่สุดเป็นอันดับแรก ได้แก่ เข็มหรือของแหลมทิ่มตำ ร้อยละ 36.8 ถูกของมีคมบาด ร้อยละ 25.7 และการได้รับรังสีระหว่างปฏิบัติงาน ร้อยละ 22.4 ผลการศึกษานี้สามารถนำไปวางแผนการพัฒนา และดำเนินงาน ด้านการป้องกันปัญหา และการเฝ้าระวังปัญหาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของโรงพยาบาลชุมชนขนาด 90 เตียง ให้เกิดความปลอดภัยต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สินของทั้งบุคลากรในองค์กรต่อไปในอนาคตได้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12382
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_125693.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.38 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons