Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12414
Title: | กระบวนการบริหารทรัพยากรเพื่อการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดอุดรธานี ตามความคิดเห็นของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล |
Other Titles: | The educational resource management process for educational administration of sub-district administration organizations in Udon Thani Province as perceived by sub-district administration organization personnel |
Authors: | กล้า ทองขาว ชวา ป้องขวาเลา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ไพโรจน์ กลิ่นกุหลาบ |
Keywords: | การจัดการศึกษา--ไทย--อุดรธานี องค์การบริหารส่วนตำบล--การบริหาร การบริหารการศึกษา |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลต่อกระบวนการบริหารทรัพยากรเพื่อการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดอุดรธานี (2)เปรียบเทีอบความคิดเห็นต่อกระบวนการบริหารทรัพยากรเพื่อการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดอุดรธานีระหว่างนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล (3) เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อกระบวนการบริหารทรัพยากรเพื่อการจัดการศึกษาของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดอุดรธานีระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติ (4) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการบริหารทรัพยากรเพื่อการจัดการศึกษาของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดอุดรธานี ผลการวิจัยพบว่า (1) บุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลมีความเห็นต่อกระบวนการบริหารทรัพยากรเพื่อการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบลโดยภาพรวมในระดับปานกลาง (2) บุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลมีความคิดเห็นต่อกระบวนการบริหารทรัพยากรเพื่อการจัดการศึกษาโดยภาพรวมไม่ต่างกัน แต่ความเห็นต่อด้านการบริหารทรัพยากรประเภททรัพยากรข้อสนเทศระหว่างนายกองค์การบริหารส่วนตำบลกับสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) บุคลากรฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติมีความคิดเห็นต่อกระบวนการบริหารทรัพยากรทรัพยากรเพื่อการจัดการศึกษาโดยภาพรวมไม่ต่างกัน แต่ความเห็นด้านการบริหารทรัพยากรประเภททรัพยากรข้อสนเทศแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) ปัญหาในการบริหารทรัพยากรพบว่า บุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลขาดความรู้ ความเข้าใจและขาดแนวทางที่ชัดเจนในกระบวนการบริหารทรัพยากร เพื่อการจัดการศึกษาและเสนอแนะให้พัฒนาบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลให้มีความรู้ ความเข้าใจและกำหนดแนวทางการบริหารทรัพยากรเพื่อการจัดการศึกษาให้ชัดเจน |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12414 |
Appears in Collections: | Edu-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.42 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License