Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12423
Title: ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับการใช้บริการตู้เกมในอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
Other Titles: Marketing mix factors affecting the use of game cabinet services at Mueang District in Nakhon Sawan Province
Authors: บริบูรณ์ ปิ่นประยงค์
ยศวัฒน์ สมศรีพลอย
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: ตู้เกม
การตลาด--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการใช้บริการตู้เกมของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ (2) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการตู้เกมในอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ (3) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการตู้เกมในอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์และ (4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการใช้บริการตู้เกมในอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือผู้ที่เคยใช้บริการตู้เกมที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตร การคำนวณของ ทาโร ยามาเน่ ได้420คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ มีจุดประสงค์เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า (1) ส่วนใหญ่ผู้บริโภคมีพฤติกรรมการการใช้บริการตู้เกมคีบตุ๊กตา บุคคลที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจใช้บริการคือ ตนเอง เหตุผลที่เล่นเพื่อความสนุก โอกาสที่ใช้บริการเพราะเล่นระหว่างรอเพื่อน โดยเล่นเพียง 1 ตู้ต่อครั้ง จำนวนที่เล่น 1-3 ครั้งต่อเดือน โดยมี จำนวนเงินที่ใช้ 30-40 บาทต่อครั้ง (2) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการคือ เพศของผู้บริโภคที่เพศหญิง ช่วงอายุ 15-18 ปี จะใช้บริ การมากกว่าเพศชาย (3) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดด้านช่องทางการจัดจ าหน่าย ในส่วนของตั้งในพื้นที่เห็นง่าย และสามารถเข้าถึงได้ง่าย มีผลต่อการใช้บริการตู้เกมในอ าเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ และ (4) ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านอายุระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ มีความสัมพันธ์กับปัจจัยส่วนประสมการตลาดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12423
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
160374.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.57 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons