กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12467
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ต่อบทบาทและความพึงพอใจกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานเภสัชกรรมบริการของเจ้าพนักงานเภสัชกรรมโรงพยาบาลชุมชนในเขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 2
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The relationships between role perception, satisfaction, and performance of pharmacy technicians according to pharmaceutical service standard of Community Hospitals in Public Health Region 2
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นิตยา เพ็ญศิรินภา
วรวิทย์ ทองน้อย, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล--ความพอใจในการทำงาน.--ไทย
การรับรู้
การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์
เจ้าพนักงานเภสัชกรรม--ความพอใจในการทำงาน
โรงพยาบาลชุมชน--การบริหาร
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงสำรวจนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การรับรู้ข่าวสารและทัศนคติเกี่ยวกับโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของผู้ปกครองนักเรียน (2) การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ของผู้ปกครองนักเรียนระดับประถมศึกษา และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การได้รับข้อมูลข่าวสารและทัศนคติ กับการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนระดับประถมศึกษา อำเภอพรหมคีรี จังหวัคนครศรีธรรมราช ประชากรคือ ผู้ปกครองนักเรียนใน โรงเรียนระดับประถมศึกษา ในเขตอำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราชจำนวน 19 โรงเรียน ใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 240 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.96 การประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) การรับรู้ข่าวสาร และด้านทัศนติโดยภาพรวมของผู้ปกครองนักเรียนเกี่ยวกับโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง (2) ผู้ปกครองนักเรียนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการดำเนินงานโรงเรียนส่งสริมสุขภาพระดับระดับปานกลาง ทั้งโดยรวมและรายด้าน (3) ระดับการศึกษา มีความสมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กับการมีส่วนร่วมโดยรวมของผู้ปกครองนักเรียน ส่วน เพศ อายุ อาชีพ และรายได้ ไม่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วม การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทางบวกกับการมีส่วนร่วม ส่วนทัศนคติต่อโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ มีความสัมพันธ์ทางลบกับการมีส่วนร่วมโดยรวมของผู้ปกครอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12467
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_115736.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.74 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons