กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12472
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาหาปริมาณปูนขาวและโพลิเมอร์ที่เหมาะสมในการบำบัดสารแขวนลอยในน้ำเสียของโรงงานผลิตสังกะสี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Study of optimal lime and polymer used to treat suspended solid in Wastewater of Zinc Industry |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปีติ พูนไชยศรี วิลานี จันตะนา, 2525- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี น้ำเสีย--การบำบัด |
วันที่เผยแพร่: | 2552 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองในห้องปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาปริมาณปูนขาวและโพลิเมอร์ ที่เหมาะสมในการบำบัดสารแขวนลอย ในน้ำเสียของโรงงานผลิตสังกะสีแห่งหนึ่ง และเพื่อเป็นแนวทางในการบำบัดน้ำเสียของโรงงานผลิตสังกะสีวิธีการดำเนินการวิจัยจะทำการทดลองเปรียบเทียบปริมาณสารเคมีที่ใช้ในการตกตะกอนน้ำเสีย โดยใช้อุปกรณ์ทคสอบการตกตะกอน เพื่อหาค่าสารแขวนลอยในน้ำ ผ่านมาตรฐานน้ำทิ้งโรงงานอุตสาหกรรม มีวิธีการดังนี้ คือ เติมปูนขาว ความเข้มข้น 10% ปริมาตร 1, 2,3 และ 4 มิลลิลิตร ลงในตัวอย่างน้ำเสียปริมาตร 600 มิลลิลิตร 4 ตัวอย่าง แล้วควบคุม pH ให้อยู่ในช่วง 9-10 โดยใช้ โซดาไฟ ความเข้มข้น 50 * ทำการกวนเร็วด้วยความเร็วรอบ 145 รอบ/นาที เป็นเวลา 15 นาที จากนั้นเติมโพลิเมอร์ ความเข้มข้น 0.59 ปริมาตร 1, 2,3 และ 4 มิลลิลิตร ทำการกวนช้าด้วยความเร็วรอบ 29 รอบ/นาที เป็นเวลา 5 นาที แล้วตั้งทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง เพื่อให้ตะกอนตก แล้วทำการแยกน้ำใสออกจากตะกอน นำไปหาค่าสารแขวน ลอยในน้ำ (SS) จากนั้นทดลองซ้ำ จนครบ 3 ครั้งแล้วคำนวณหาร้อยละการกำจัดสังกะสีในน้ำเสียดังกล่าวผลการศึกษาทำ ให้ทราบว่า ปริมาณสารเคมีที่เหมาะสมในการบำบัดน้ำเสียของโรงงานผลิตสังกะสี คือ ใช้ 10% ปูนขาว 3 มิลลิลิตร 0.5% โพลิเมอร์ 3 มิลลิลิตร ในตัวอย่างน้ำเสีย 600 มิลลิลิตร ทำให้น้ำที่บำบัดได้มีลักษณะใส ค่าสารแขวนลอยในน้ำ (SS) เฉลี่ยเท่ากับ 39 มิลลิกรัมต่อลิตร ร้อยละการกำจัดสังกะสีในน้ำเสีย เท่ากับ 93.71% จากการศึกษาดังกล่าวมีข้อเสนอแนะดังนี้ คือ ควรทำการศึกษาเพิ่มเติมกับน้ำเสียในแต่ละช่วงที่ปล่อยออกมาจากกระบวนการผลิต และควรทำการศึกษาพารามิเตอร์อื่นๆ ควบคู่ไปด้วย |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12472 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_125785.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.73 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License